เคล็ดลับผู้ประกอบการ


 
ร้านกาแฟ ดอยช้าง

  

ธุรกิจร้านกาแฟ

วิวัฒนาการของร้านกาแฟ
เริ่มจากรถเข็นขายกาแฟที่เราท่านเคยเห็นกัน จะมีถุงลวกกาแฟแล้วเทใส่น้ำตาล ใส่นม คนให้เข้ากัน แล้วก็ต้องทานกับปาท่องโก๋ ซึ่งเป็นของคู่กัน และมีโต๊ะกลมและเก้าอี้นั่ง มักจะพบเห็นได้ตามตลาดสด สถานที่คนพลุกพล่าน ฯลฯ และDesign จะเป็นแบบเรียบ เน้นขายผลิตภัณฑ์มากกว่าขาย Design หรือรูปลักษณ์
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อัตราการขยายตัวของธุรกิจร้านกาแฟเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กระทั่งมีผู้สนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากธุรกิจร้านกาแฟยังเปิดกว้างอยู่ แต่อย่างไรก็ตามการทำธุรกิจใดๆ ต่างมีความเสี่ยงทั้งสิ้น ธุรกิจร้านกาแฟก็เช่นกัน แม้จะเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอยู่ ตราบใดที่กาแฟยังสร้างสุนทรีย์ให้กับผู้ที่รักการดื่มได้ แต่การทำธุรกิจตามกระแส ผู้ประกอบการอาจไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ ผู้ที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้จึงควรศึกษาข้อมูลบางส่วนไว้ ดังนี้

ลักษณะของผู้ประกอบการ
-          ผู้ประกอบการที่สนใจจะลงทุนธุรกิจร้านกาแฟ ควรมีความพร้อมในเรื่องของเงินลงทุนอยู่บ้างพอสมควร
-          ผู้ประกอบการต้องมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากหัวใจสำคัญของการทำร้านกาแฟอยู่ที่การเลือกทำเลที่ตั้ง หากขาดทำเลที่ตั้งที่ดีแล้ว โอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านนี้นับว่ายากลำบากอยู่พอสมควร
-          ผู้ประกอบการควรมีความรู้ในศาสตร์ของกาแฟอยู่บ้าง เพราะการผลิตเครื่องดื่มกาแฟถือเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยความละเอียดอ่อน ความเข้าใจในส่วนนี้จะช่วยในเรื่องการขาย การบริการ และการพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น

การลงทุน
ธุรกิจร้านกาแฟมีลักษณะการลงทุนใน 3 รูปแบบหลักๆ ดังนี้
1.       ร้าน (Stand - Alone) เป็นอาคารอิสระหรือห้องเช่าที่มีพื้นที่ประมาณ 50 ..ขึ้นไป ร้าน Stand - Alone อาจตั้งอยู่ตามย่านชุมชน ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน หรือพลาซ่าใหญ่ๆ
2.       คอร์เนอร์ (Corner/Kiosk) ร้านกาแฟขนาดกลาง ใช้พื้นที่ประมาณ 6 ...ขึ้นไป ลักษณะเป็นมุมกาแฟภายในอาคาร ศูนย์การค้า หรือพลาซ่า ร้านกาแฟประเภทนี้อาจจัดให้มีที่นั่งจำนวนเล็กน้อย
3.       รถเข็น (Cart) ร้านกาแฟขนาดเล็ก ใช้พื้นที่ประมาณ 3 ..สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก หาทำเลที่ตั้งได้ง่าย ทำให้เข้าถึงตลาดได้ทุกระดับ

โครงสร้างการลงทุน

รูปแบบร้าน Stand-Alone




ร้านกาแฟในรูปแบบ Stand Alone จะใช้เงินลงทุนเริ่มแรกประมาณ 800,000 ถึง 1,500,000 บาท ซึ่งโครงสร้างต้นทุนของร้านกาแฟรูปแบบนี้ ส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน คือ
1.       ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ประมาณ 90% ได้แก่
-          ค่าก่อสร้าง ออกแบบและตกแต่งสถานที่
-          ค่าวางระบบต่าง ๆ (ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ระบบเก็บเงิน)
-          ค่าอุปกรณ์
2.       เงินทุนหมุนเวียนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้น ประมาณ 10 % ได้แก่
-          ค่าวัตถุดิบสินค้า
-          ค่าบรรจุภัณฑ์
-          ค่าจ้างพนักงาน
-          ค่าเช่าพื้นที่
-          ค่าน้ำ ค่าไฟ
-          ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

การลงทุนดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่าง ให้ผู้ประกอบการที่สนใจได้เห็นรูปแบบการลงทุนของร้านกาแฟแบบ Stand Alone คร่าว ๆ หากผู้ประกอบการบางรายมีความพร้อมด้านสินทรัพย์ถาวรบางรายการ หรือคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้เข้ามาได้ทันกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ผู้ประกอบการก็สามารถปรับลดสัดส่วนของสินทรัพย์ถาวรหรือเงินทุนหมุนเวียนที่จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นลงได้ ฉะนั้น สัดส่วนโครงสร้างการลงทุนจึงขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในธุรกิจของผู้ประกอบการเองด้วย

วิธีการคำนวณรูปแบบการลงทุนร้านกาแฟ Stand Alone
กรณีร้านกาแฟในห้างสรรพสินค้า ใช้ขนาดพื้นที่ประมาณ 60 ตารางเมตร สัญญาเช่า 10 ปี ผู้ประกอบการใช้เงินลงทุนเริ่มแรกประมาณ 1.42 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 1.27 ล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อค่าใช้จ่ายเริ่มต้น ประมาณ 1.48 แสนบาทต่อเดือน และหากผู้ประกอบการสามารถจำหน่ายกาแฟได้ประมาณ 150 แก้วต่อวัน ในราคาเฉลี่ย 55 บาท โดยมีรายละเอียดที่จะต้องกำหนดขึ้น เพื่อการคำนวณดังนี้

งบประมาณ การลงทุน

รายการ
จำนวนเงิน (บาท)
ค่าก่อสร้าง ออกแบบและตกแต่งสถานที่
ค่าระบบไฟฟ้า
ค่าระบบประปา
ค่าระบบโทรศัพท์
ค่าระบบเก็บเงิน
800,000
50,000
15,000
5,000
 50,000

รวมเงินลงทุน

920,000
                                              
อุปกรณ์
รายการ
จำนวนเงิน (บาท)
เครื่องชงกาแฟ
เครื่องบดกาแฟ
เครื่องปั่น
เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ
อุปกรณ์เครื่องครัวต่างๆ
อุปกรณ์เครื่องเสียง
เครื่องเก็บเงิน
รวมค่าอุปกรณ์
200,000
30,000
40,000
 20,000
 20,000
 20,000
20,000
 350,000

รวมเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร

1,270,000
เงินทุนหมุนเวียน
147,500

รวมเงินลงทุนทั้งสิ้น

1,417,500


ประมาณการค่าใช้จ่ายต่อเดือน
Ø    ต้นทุนสินค้า (บาท/เดือน) 81,000
รวมค่าวัตถุดิบ (กาแฟ น้ำแข็ง นม ฯลฯ)
รวมค่าบรรจุภัณฑ์ (แก้ว ฝา ไม้คน หลอด ฯลฯ )
รวมต้นทุนกาแฟต่อหน่วย
15
3.0
18.00
รวมต้นทุนสินค้าต่อเดือน (150 x 18 x 30) = 81,000 บาท/เดือน

Ø    ค่าจ้างพนักงาน (บาท/เดือน) 24,500
หัวหน้าร้าน 1 คน
พนักงานร้าน 1 คน
พนักงานดูแลความสะอาด 1 คน
12,000
  7,000
  5,500

รวมค่าจ้างพนักงาน

24,500

Ø    ค่าเช่าพื้นที่ (บาท/เดือน) 30,000
Ø    ค่าน้ำ ค่าไฟ (บาท/เดือน) 7,000
Ø    ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (ค่าขนส่ง ค่าการตลาด ค่าส่งเสริมการขาย) 5,000 รวมประมาณการค่าใช้จ่ายต่อเดือน (บาท) 147,500

การกำหนดราคาขาย
ราคาขายของกาแฟแต่ละถ้วย จะถูกกำหนดขึ้นจากต้นทุนบวกด้วยกำไรที่ผู้ประกอบการต้องการ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว การตั้งราคาของผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงราคาขายของผู้ประกอบการรายอื่นๆ ในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเดียวกันที่มีในตลาดด้วย เช่น กรณีของร้านกาแฟตัวอย่างที่กำหนดไว้นี้ จับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายระดับบน ซึ่งราคาจำหน่ายกาแฟในตลาดระดับนี้ อยู่ที่ ประมาณ 45-65 บาท คิดเป็นราคาขายแก้วละ 55.00 บาท

รายได้
รายได้ของธุรกิจเกิดจาก (ยอดขาย x ราคาสินค้า)
150x30 x 55
247,500 บาท
กำไรเดือนละ
247,500 – 147,500
100,000 บาทต่อเดือน
( *โครงสร้างการลงทุนข้างต้น ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ 4 ราย ช่วงเดือนกรกฎาคม 2545 )


รูปแบบร้าน Corner


ร้านกาแฟในรูปแบบ Corner จะใช้เงินลงทุนเริ่มแรกประมาณ 250,000 ถึง 800,000 บาท ส่วนรูปแบบ Cart ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 80,000 ถึง 600,000 บาท การลงทุนในรูปแบบคอร์เนอร์และรถเข็น ใช้วิธีการคำนวณเช่นเดียวกับรูปแบบของร้าน เพียงแต่โครงสร้างเงินลงทุนของคอร์เนอร์และรถเข็นจะมีสัดส่วนที่แตกต่างไปจากร้าน Stand Alone ดังนี้

ตัวอย่างเงินลงทุนร้านกาแฟในรูปแบบคอนเนอร์และรถเข็น 
รายการ
คอร์เนอร์
รถเข็น
ค่าออกแบบตกแต่ง
ค่าระบบไฟฟ้า
ค่าระบบโทรศัพท์
เครื่องชงกาแฟ
เครื่องบดเมล็ดกาแฟ
เครื่องปั่น
เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ
อุปกรณ์เครื่องครัวต่างๆ
เครื่องเก็บเงิน
250,000
30,000
5,000
200,000
30,000
40,000
10,000
10,000
30,000
70,000
-
-
50,000
-
-
-
10,000
-
               
ต้นทุนวัตถุดิบทั้งแบบคอร์เนอร์และรถเข็น อาจใช้อัตราเดียวกับการลงทุนแบบร้าน ส่วนต้นทุนการดำเนินงาน และต้นทุนการขายและบริหาร จะแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม ผู้ประกอบการต้องประมาณการ ต้นทุนค่าใช้จ่าย และยอดขายที่ต้องการขึ้น แล้วนำมาคำนวณโดยวิธีการดังตัวอย่างข้างต้น
เงื่อนไขและข้อจำกัดที่สำคัญ
-          การหาทำเลที่ตั้งจะค่อนข้างยาก เพราะทำเลที่ดีมักถูกผู้ประกอบการรายใหญ่เข้าจับจองแล้ว
-          ผู้ประกอบการรายใหญ่เริ่มหันมาจับกลุ่มลูกค้ารายย่อย ทำให้การแข่งขันสูง นักลงทุนรายย่อยที่จะเข้ามาในตลาดจึงค่อนข้างมีความเสี่ยง เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่มีเงินลงทุนสูงและมีความรู้ในด้านเทคโนโลยีที่ดีกว่า

ภาพรวมธุรกิจร้านกาแฟ
ในช่วงระยะเวลา 3– 4 ปี ที่ผ่านมานี้ ธุรกิจร้านกาแฟ มีอัตราการเติบโตรวดเร็วอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหลัก ๆ อาจสืบเนื่องมาจากธุรกิจร้านกาแฟรายใหญ่ ๆ จากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้ เช่น ซูซูกิ สตาร์บัคส์ สภาพดังกล่าวสร้างความคึกคักและตื่นตัวให้กับวงการธุรกิจร้านกาแฟเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกัน กระแสความนิยมการดื่มกาแฟของคนไทยก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป จากเดิม คนไทยนิยมดื่มกาแฟสำเร็จรูปกันเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบัน คนไทยได้หันมานิยมเข้าร้านกาแฟสดคั่วบด ที่มีการตกแต่งร้านให้หรูหราทันสมัย สะดวกสบาย มีบรรยากาศที่รื่นรมย์สำหรับการดื่มกาแฟมากขึ้น
ทั้งนี้ จากผลการสำรวจพฤติกรรมการดื่มกาแฟของคนไทยในปี พ.. 2545 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า คนไทยยังมีอัตราการดื่มกาแฟต่อคนต่ำมาก เฉลี่ย 200 แก้ว/คน/ปี เมื่อเทียบกับคนในแถบเอเชีย เช่น ชาวญี่ปุ่น ดื่มกาแฟเฉลี่ย 500 แก้ว/คน/ปี ในขณะที่ชาวอเมริกาดื่มกาแฟเฉลี่ย 700 แก้ว/คน/ปี ดังนั้น การดื่มกาแฟของคนไทยในอนาคตจึงยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เหตุนี้ ทำให้นักลงทุนจำนวนมากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจร้านกาแฟ สภาพการแข่งขันในตลาดโดยรวมจึงดูเหมือนจะรุนแรง แต่เนื่องจากร้านกาแฟส่วนใหญ่ที่มีในปัจจุบัน มักเน้นการขายสินค้าและบริการเสริมอื่นๆ เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ แซนด์วิช บางแห่งมีบริการอินเตอร์เน็ตให้กับลูกค้าด้วย เมื่อแต่ละร้านมีจุดขายที่เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคแตกต่างกันไป ประกอบกับคอกาแฟในตลาดยังมีหลายกลุ่ม การแข่งขันในตลาดจึง ยังไม่รุนแรง หรือชัดเจนเท่าใดนัก แต่อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในอนาคตมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ผู้ประกอบการจึงต้องสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น

ส่วนแบ่งทางการตลาด
ส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจร้านกาแฟในปัจจุบันยังไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากผู้ประกอบการในตลาดมีอยู่หลายกลุ่ม ทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมถึงการดำเนินธุรกิจก็มีรูปแบบที่หลากหลาย แตกต่างกันไปตามคุณภาพและราคาสินค้า อย่างไรก็ตาม ธุรกิจร้านกาแฟอาจพอแบ่งคร่าว ๆ ได้ ดังนี้

1. ร้านกาแฟที่เป็นแฟรนไชส์จากต่างประเทศ
ร้านกาแฟเหล่านี้ส่วนใหญ่จับกลุ่มลูกค้าระดับบน ราคาสินค้าโดยเฉลี่ย 65 บาทขึ้นไป ร้านกาแฟสตาร์บัคส์อาจถือได้ว่าเป็นผู้นำในตลาดนี้ ด้วยความมีชื่อเสียงและเป็นแบรนด์ดังจากประเทศอเมริกา สตาร์บัคส์เข้ามาในไทยเมื่อปี พ.. 2541ชูจุดขายของการเป็นร้านกาแฟที่คัดสรรคุณภาพวัตถุดิบจากต่างประเทศ ภายในร้านมีสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทแผ่นพับจำนวนมาก เพื่อให้ความรู้เรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับกาแฟแก่ลูกค้า สตาร์บัคส์จึงเป็นร้านที่ครองใจผู้บริโภคในตลาดกาแฟระดับบนมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยจำนวนสาขาที่มีประมาณ 25 สาขา (Thailand Restaurant News, 2544) ส่วนร้านอื่นๆ ที่อยู่ในตลาดนี้ ได้แก่ ซูซูกิ โอบองแปง กลอเรีย จีนส์ คอฟฟี่ส์ เป็นต้น

2.ร้านกาแฟของนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาสร้างแบรนด์ในไทย
มีหลายรายเช่นกัน เช่น คอฟฟี่ เวิลด์ คอฟฟี่บีนส์ สำหรับคอฟฟี่เวิลด์เป็นร้านที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงในกลุ่มนี้ คอฟฟี่ เวิลด์เปิดตัวในปีพ.. 2540โดยนักลงทุนชาวอังกฤษ และเปิดสาขาแรกที่มหาวิทยาลัย ABAC มุ่งจับกลุ่มนักศึกษาที่มีรายได้สูง หลังจากนั้น คอฟฟี่เวิลด์ก็ขยายสาขาไปแถวถนนสีลม เน้นจับกลุ่มนักธุรกิจ คนทำงานมากขึ้น ปัจจุบัน คอฟฟี่ เวิลด์กำลังขยายสาขาไปในศูนย์การค้า เช่น เซ็นทรัล บิ๊กซี โลตัส รูปแบบการตกแต่งร้านมีความทันสมัย กาแฟที่ใช้ในร้านมีทั้งที่เป็นกาแฟไทยและกาแฟนำเข้าจากต่างประเทศ ราคากาแฟขายอยู่ที่ 45 – 65 บาทต่อแก้ว ในปัจจุบัน คอฟฟี่ เวิลด์มีจำนวนสาขาประมาณ 30 สาขา

3.ร้านกาแฟของคนไทยทั้งที่ลงทุนเองและเปิดสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์
ร้านกาแฟในกลุ่มนี้มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ร้านที่โดดเด่นและ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในระบบแฟรนไชส์ ได้แก่ ร้านแบล็คแคนยอน ซึ่งก่อตั้งขึ้นปลายปี 2536 ร้านแบล็คแคนยอนได้ฉีกแนวการทำร้านกาแฟให้ต่างไปจากเดิม ด้วยการเปิดร้านขายกาแฟควบคู่กับการขายอาหาร ร้านแบล็คแคนยอนมุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางไปจนถึงระดับบน ที่เป็นกลุ่มคนทำงานและกลุ่มครอบครัว ราคาจำหน่ายกาแฟอยู่ที่ 45 – 65 บาท แบล็คแคนยอนชูจุดขายที่ความสดใหม่ของกาแฟ ด้วยการชงกาแฟ 1 ซอง ต่อ 1 แก้ว เมล็ดกาแฟที่ใช้ 70 % เป็นพันธุ์อาราบิก้าของโครงการหลวง และอีก 30% เป็นเมล็ดกาแฟนำเข้าจากต่างประเทศ ปัจจุบันร้านแบล็คแคนยอนมีจำนวนสาขาประมาณ 76 แห่ง (สัมภาษณ์มิ.. 2545) นอกจากนี้ ร้านแบล็คแคนยอนยังได้ขยายการลงทุนเข้าไปในประเทศสิงคโปร์ และมีแนวโน้มที่จะขยายการลงทุนต่อไปในประเทศมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ด้วย ร้านกาแฟอื่นๆในกลุ่มนี้ ได้แก่ 94 Coffee, The Coffee Maker, Barista ร้านเหล่านี้จำหน่ายกาแฟที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับกาแฟจากร้านใหญ่ๆ แต่ราคาถูกกว่า สิ่งนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีทางเลือกสำหรับการดื่มกาแฟเพิ่มขึ้น

4.ร้านกาแฟของคนไทยที่เปิดร่วมกับปั๊มน้ำมัน
ร้านกาแฟเหล่านี้เน้นจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักเดินทาง ราคากาแฟจะไม่สูงนัก เฉลี่ยประมาณ 30-45 บาทต่อแก้ว กลุ่มนี้เน้นการเป็นร้านสะดวกซื้อที่ขยายตัวไปพร้อมกับปั๊มน้ำมัน แบรนด์ดังๆ เช่น บ้านใร่กาแฟร่วมกับปั๊ม JET กาแฟบ้านเราร่วมกับปั๊มปตท. ลาวิตาร่วมกับปั๊มบางจาก การลงทุนโดยอาศัยแบรนด์ใหญ่ของปั๊มน้ำมัน ทำให้แบรนด์เล็กๆ ของร้านกาแฟดังกล่าวขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว สำหรับนักลงทุนกลุ่มนี้ บ้านใร่กาแฟถือว่าเป็นร้านกาแฟที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ด้วยสาขาในปัจจุบันประมาณ 80 แห่ง (สัมภาษณ์มิ.. 2545) หลังจากเปิดดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2540 จุดเด่นของบ้านใร่กาแฟอยู่ที่การออกแบบร้านให้มีเอกลักษณ์เฉพาะ มีบรรยากาศดึงดูดนักดื่มกาแฟได้เป็นอย่างดี
นอกจากการแบ่งเป็นกลุ่มดังกล่าวแล้ว ในตลาดยังมีธุรกิจร้านกาแฟรายย่อยอีกเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ร้านเหล่านี้จะลงทุนในรูปแบบมุมกาแฟ (Corner/Kiosk) หรือรถเข็น (Cart) ที่ใช้เงินลงทุนไม่มากนัก ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ส่งออกและนำเข้าผลิตภัณฑ์กาแฟ จะเป็นผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์และวัตถุดิบต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการรายย่อย ดังนั้น ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆเหล่านี้ จึงมีบริการให้คำปรึกษา สอนการทำกาแฟให้กับร้านกาแฟรายย่อยๆ เพื่อเป็นช่องทางจัดจำหน่ายอุปกรณ์กาแฟและเมล็ดกาแฟ ร้านกาแฟรายใหญ่เหล่านี้ได้แก่ บอนกาแฟ อโรม่า กาแฟบ้านเรา กาแฟแม่สลอง เป็นต้น
ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการมีอยู่หลายทางเลือกด้วยกัน ทั้งในรูปของการซื้อสิทธิแฟรนไชส์จากบริษัทแม่ที่ขายแฟรนไชส์ หรือการเข้าร่วมลงทุนกับบริษัทแบรนด์ใหญ่ๆ การเข้าร่วมลงทุนใน ลักษณะนี้ ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาเงื่อนไขสัญญา แผนการตลาด รวมทั้งประวัติความเป็นมาของบริษัทอย่างรอบคอบ ทาง ที่ดี ผู้ลงทุนควรศึกษาจากหลายๆแห่ง และนำมาเปรียบเทียบกันก่อนตัดสินใจเลือกลงทุนกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง
ส่วนอีกทางเลือกหนึ่งคือ การลงทุนสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมาเอง ในปัจจุบันนี้ ทางเลือกดังกล่าว อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง การแย่งชิงพื้นที่ทำธุรกิจมีสูง โดยเฉพาะตามศูนย์การค้า ถ้าผู้ประกอบการไม่มีสายสัมพันธ์ที่ดีมาก่อนและแบรนด์ไม่แข็งพอ การเปิดตัวธุรกิจจะทำได้ยาก แต่ใช่ว่าผู้ประกอบการรายใหม่ๆที่ต้องการสร้างแบรนด์ของตัวเองจะไม่มีโอกาสเลย เพียงแต่ในระยะเริ่มแรกนั้น ผู้ประกอบการจะต้องเน้นสร้างแบรนด์ของตนเองให้แข็งแกร่งในตลาดกลุ่มเป้าหมายก่อน เพราะในตลาด ผู้บริโภคกาแฟยังสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมาก เช่น กลุ่มวัยรุ่น นักเที่ยวยามค่ำคืน คนทำงานดึก เป็นต้น
ทั้งนี้ ก่อนเริ่มทำธุรกิจ ผู้ประกอบการควรเลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสม โดยศึกษาว่าบริเวณทำเลที่เลือกนั้น กลุ่มลูกค้ามีพฤติกรรมชอบดื่มกาแฟมากน้อยแค่ไหน และในละแวกนั้นมีคู่แข่งไหม จุดไหนที่ทำให้ผู้บริโภคเลือกดื่มกาแฟของร้าน หรืออะไรที่ทำให้ธุรกิจแตกต่างไปจากร้านอื่นๆ ผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการเข้ามาลงทุน ควรสร้างความแตกต่างไปจากผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาด ทั้งรูปแบบการตกแต่งร้านและรสชาติของสินค้า สิ่งเหล่านี้ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเปิดธุรกิจร้านกาแฟ

กลุ่มเป้าหมาย
ร้านกาแฟในปัจจุบัน มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก ๆ ได้แก่ นักธุรกิจ นักศึกษา คนทำงาน และนักท่องเที่ยว

ธุรกิจหลักและธุรกิจเสริม
ร้านกาแฟบางแห่งจะมุ่งไปที่การขายกาแฟเป็นหลัก เช่น ร้านสตาร์บัคส์ ร้านกลอเรีย จีนส์ คอฟฟี่ส์ แต่ร้านกาแฟบางแห่งมีชื่อเสียงในเรื่องขนม ของว่าง เช่นเค้ก คุกกี้ ไอศกรีม สลัด แซนด์วิช ที่นำมาขายเป็นธุรกิจเสริมร่วมกับกาแฟ ตัวอย่างร้านกาแฟเหล่านี้ ได้แก่ โอปอแปง มีชื่อเสียงในเรื่องแซนด์วิช ร้านแบล็คแคนยอนมีชื่อเสียงในเรื่องการขายอาหารร่วมกับกาแฟ เป็นต้น ฉะนั้น ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนร้านกาแฟ จึงอาจหาสินค้าเสริมเข้ามาขายร่วมกับกาแฟ เพื่อดึงกลุ่มลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น

ส่วนผสมทางการตลาด
ผู้ที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟ มักให้ความสำคัญกับรสชาติ ความหอม และบรรยากาศของการดื่มกาแฟ ผู้ประกอบการร้านกาแฟจึงต้องให้ความสำคัญกับด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านผลิตภัณฑ์ (Product)
กาแฟสดแตกต่างจากกาแฟสำเร็จรูป ในเรื่องของรสชาติที่กลมกล่อม และกลิ่นหอมเย้ายวนชวนให้น่าดื่มมากกว่า คอกาแฟส่วนใหญ่มีรสนิยมการดื่มกาแฟที่ต่างกัน บางคนชอบดื่มกาแฟที่มีรสชาติเข้มข้น บางคนชอบดื่มกาแฟที่ออกรสเปรี้ยวเล็กน้อย ดังนั้น ในด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ลงทุนควรใส่ใจเรื่องดังต่อไปนี้
-          ผู้ผลิตจะต้องคิดค้น พัฒนาสูตรเครื่องดื่มกาแฟให้มีหลากหลายรสชาติ และกลิ่นหอม ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต้องผ่านกระบวนการผลิตที่สะอาดปลอดภัย สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคได้
-          ในภาวะที่ผู้บริโภคมีทางเลือกหลากหลาย สิ่งสำคัญที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการรายใหม่ติดตลาดหรือได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค คือการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม โดดเด่น และแตกต่างไปจากสินค้าที่มีในตลาด เพื่อสร้างบรรยากาศของการดื่มกาแฟให้ได้รสชาติยิ่งขึ้น
-          การสร้างตราสินค้า (Brand) ที่แรง และเป็นที่จดจำได้ง่าย ตัวอย่างเช่น บ้านใร่กาแฟ นำเอาการเล่นคำสะกดที่ผิดมาใช้ ทำให้คนเกิดความสนใจและจดจำตราสินค้ากันมากขึ้น หรืออย่างสตาร์บัคส์ แบล็คแคนยอน และ คอฟฟี่เวลิด์ ต่างก็มีสโลแกนสำหรับตราสินค้าของตัวเอง ผู้บริโภคจะระลึกถึงตรา สินค้านั้นๆ เสมอ เมื่อต้องการดื่มกาแฟ เช่น
-          แบล็คแคนยอน “ สวรรค์ของคนรักกาแฟ ” แสดงให้เห็นว่าคอกาแฟจะไม่ผิดหวังถ้าเลือกดื่มกาแฟที่ร้านแบล็คแคนยอน
-          คอฟฟี่เวิลด์ “Where the World Meet” สร้างภาพของสถานที่ดื่มกาแฟ ซึ่งเหมาะต่อการเป็นเป็นแหล่งนัดพบ ทั้งเพื่อการสังสรรค์ และเพื่อการติดต่อธุรกิจ
ฉะนั้น ผู้ประกอบการจะต้องผลิตสินค้าให้มีทั้งคุณภาพ ความปลอดภัย รูปแบบการบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม และตราสินค้าที่ดี สิ่งเหล่านี้จะช่วยผลักดันให้สินค้าประสบความสำเร็จในตลาดได้ง่ายขึ้น
ด้านสถานที่
สถานที่สำหรับประกอบธุรกิจร้านกาแฟมีความสำคัญมาก นอกจากการเลือกทำเลที่ดี การสัญจรสะดวก มีที่จอดรถ แล้วภายในบริเวณร้านจะต้องจัดแต่งให้สวยงาม ทั้งนี้ เนื่องจากรูปแบบการบริโภคกาแฟของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากอดีต ร้านกาแฟมักเป็นร้านขนาดเล็ก หรือรถเข็น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นชาวจีน มาในปัจจุบันคนไทยหันมานิยมดื่มกาแฟสดคั่วบดในร้านกาแฟที่มีบรรยายกาศและการตกแต่งร้านที่ทันสมัย หรือที่เรียกกันว่าร้านกาแฟพรีเมี่ยม(Premium) รูปแบบของร้านกาแฟในปัจจุบัน จึงถูกจัดตกแต่งให้ดูทันสมัย มีความโดดเด่นในเรื่องความสะอาด สะดวกสบาย และบรรยากาศผ่อนคลาย เหมาะจะเข้าไปนั่งพักนั่งคุย ทั้งนี้เพราะลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของร้านกาแฟส่วนใหญ่จะเป็นนักธุรกิจ นักศึกษา วัยรุ่น และนักท่องเที่ยว รูปแบบการจัดแต่งร้านกาแฟพรีเมี่ยม จะคล้ายกับร้านฟาสท์ฟู้ดทั่วไป คือเน้นการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยในร้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย
1.       การจัดวางอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในร้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อง่ายต่อการใช้สอย หากพื้นที่ภายในร้านค่อนข้างจำกัด ผู้ลงทุนอาจทำชั้นวางของรอบด้านเพื่อเก็บอุปกรณ์ต่างๆให้เป็นระเบียบ นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังต้องจัดการฝึกอบรมพนักงานให้มีระเบียบจนเป็นนิสัย ไม่เช่นนั้นแล้ว การจัดสรรพื้นที่ใช้สอยที่ดี ก็จะกลับมายุ่งเหยิงอีกครั้ง
2.       การลดขั้นตอนต่างๆ ของหน้าร้านให้สั้นที่สุด ทั้งด้านการผลิต การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า และการชำระเงิน การลดขั้นตอนนี้ นอกจากจะเป็นการจัดสรรพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานแก่พนักงานแล้ว ยังทำให้ลูกค้าได้รับการบริการที่สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น
ตัวอย่างร้านกาแฟพรีเมี่ยม เช่น ร้านสตาร์บัคส์ ซูซูกิ แบล็คแคนยอน หรือ คอฟฟี่เวิลด์ ภายในร้านเหล่านี้จะมีนิตยสารทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดเตรียมไว้บริการลูกค้าด้วย ฉะนั้น การตกแต่งสถานที่และการสร้างบรรยากาศภายในร้านกาแฟ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสามารถสนองตอบความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
ช่องทางการจัดจำหน่าย
ร้านกาแฟสดส่วนใหญ่จะมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่มุ่งไปตามย่านธุรกิจ แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ต่างๆ ดังนี้
-          ห้างสรรพสินค้า
-          ซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ ๆ
-          ใกล้สถาบันการศึกษา
-          ใกล้โรงภาพยนต์
-          ปั๊มน้ำมัน
ราคา
เครื่องดื่มกาแฟตามร้านกาแฟสดทั่วไป มีระดับราคาตั้งแต่ 20 บาท ไปจนถึง 100 กว่าบาท ส่วนใหญ่การตั้งราคาพิจารณาจากต้นทุนวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต กาแฟพันธุ์อาราบิก้าจะมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 100 –120 บาท สูงกว่าพันธุ์โรบัสตาประมาณ 3–4 เท่า ส่วนราคาของกาแฟคั่วเสร็จจะสูงกว่ากาแฟดิบมาก มีตั้งแต่ราคา 300 -400 บาท ไปจนถึง 700 บาทขึ้นไป กาแฟจึงมีคุณภาพ รสชาติ และกลิ่นหอมที่แตกต่างกันไป สำหรับกาแฟที่นำเข้าจากต่างประเทศ ราคาจะสูงขึ้นไปอีก สาเหตุหลักเพราะผู้นำเข้าต้องเสียภาษีสูงถึง 95 %
ดังนั้น ราคาเครื่องดื่มที่ผลิตขึ้นจึงแตกต่างกันไปตามต้นทุนวัตถุดิบที่นำมาใช้ บวกกับค่าใช้จ่ายต่างๆในการดำเนินงาน โดยการกำหนดราคา ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับคุณภาพ และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

การส่งเสริมการขาย
ธุรกิจร้านกาแฟอาจใช้วิธีการส่งเสริมการขาย มีดังต่อไปนี้
-          ส่วนใหญ่ธุรกิจร้านกาแฟจะเน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และแผ่นพับ หรือ Direct Mail เพราะสื่อเหล่านี้นำเสนอให้เห็นภาพลักษณ์ของสินค้าที่ดี ชื่อสินค้า และตราสินค้า เพื่อให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคได้เร็วด้วยต้นทุนที่ต่ำ ขณะที่การส่งเสริมการขายด้วยรูปแบบการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์นั้นน้อยมาก เนื่องจากใช้ต้นทุนสูง
-          การประชาสัมพันธ์ที่ดีอีกวิธี คือการสร้างมาตรฐานของร้านให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จนนำไปบอกกล่าวกันแบบปากต่อปาก วิธีนี้ได้ผลดีมากสำหรับธุรกิจร้านกาแฟ
-          ผู้ประกอบการอาจส่งเสริมการขายด้วยรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดโปรโมชั่นแลกซื้อของที่ระลึก หรือในช่วงเทศกาลสำคัญ ๆ ก็อาจจะนำกาแฟบางรายการมาลดราคา เพื่อให้ผู้บริโภคหันมาดื่มกาแฟกันมากขึ้น หรือผู้ประกอบการอาจจัดกิจกรรมร่วมสนุกเพื่อดึงผู้บริโภคเข้าร้านบ่อยครั้งมากขึ้น ตัวอย่างเช่น กิจกรรม Cupping Session ที่ร้านกลอเรีย จีน คอฟฟี่ส์ กิจกรรมดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้ทดสอบรสชาติของกาแฟแต่ละชนิดว่ามีคุณสมบัติอย่างไร และถือเป็นการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคไปในตัวด้วย

ความรู้เรื่องเมล็ดพันธุ์

          จุดกำเนิดของกาแฟเล่ากันว่า มาจากประเทศเอธิโอเปีย แต่บางตำราก็กล่าวกันว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเยเมน ซึ่งกาแฟในโลกนี้ มีหลากหลายสายพันธ์ และปลูกได้ดีในบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตรของโลก ซึ่งคุณภาพของกาแฟ ที่มีชื่อเสียงก็มาจากแหล่งปลูกที่ต่าง ๆ ของโลกนั่นเอง จนกระทั่งเราสามารถแบ่งประเภทของกาแฟตามแหล่งปลูกได้ เช่น กาแฟบราซิล ซึ่งเป็นแหล่งที่ปลูกกาแฟได้มากที่สุดในโลก หรือแหล่งปลูกในเขตอเมริกากลาง เช่น โคลัมเบีย เป็นต้น หรือแหล่งปลูกในเขตตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ ประเทศเยเมน เอธิโอเปีย และเคนย่า หรือในแหล่ง ปลูกของประเทศที่เป็นเกาะ เช่น จาไมก้า เป็นต้น ส่วนแหล่งปลูกในเขตเอเชีย ก็ได้แก่ ประเทศอินโดนีเชีย อินเดีย ฟิลิปปินส์ และไทย

สำหรับปริมาณการผลิตกาแฟของโลกนั้น สามารถเรียงตามลำดับ ได้ดังนี้ คือ

1.       กลุ่มประเทศบราซิล ผู้ผลิตอันดับ 1 ของโลก ผลิตประมาณได้ 1.6 ล้านตัน/ปี
2.       กลุ่มประเทศเอเชีย ผลิตได้ประมาณ 1.3 – 1.5 ล้านตัน/ปี
3.       ประเทศเขตแอฟริกา ผลิตได้ประมาณ 1 ล้านตัน/ปี
4.       โคลัมเบีย ประเทศผู้ผลิตอันดับ 2 ผลิตได้ ประมาณ .72 ล้านตัน/ปี
ดังนั้นการที่เราได้ยินชื่อเมนูกาแฟ ว่ากาแฟบราซิล กาแฟโคน่า... ซึ่งก็หมายถึงแหล่งปลูกนั่นเอง

กาแฟที่มีชื่อเสียง

กาแฟ คอฟฟาลิกา จะเป็นกาแฟ ที่มีชื่อเสียงของทางยุโรป กาแฟโคลัมเบียก็เป็นกาแฟ ที่มีชื่อเสียงมากของโลก และที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ก็คือ บลูเม้าเทน ก็มาจากจาไมก้าซึ่งผลิตได้น้อย แต่ก็มีชื่อเสียงมาก กาแฟฮาราก็ปลูกมากที่ประเทศเอธิโอเปีย กาแฟชวาก็ปลูกมากที่อินโดนีเซีย ส่วนกาแฟมอคค่าก็มีแหล่งปลูกที่ประเทศเยเมน

กาแฟไทย

กาแฟถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ประเทศไทยผลิตกาแฟได้มากในแถบเอเชีย ซึ่งมีผลผลิตเป็นรองจากเวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งเมื่อเทียบกับผลผลิตของโลกทั้งหมด เราสามารถผลิตประมาณ 8หมื่นตัน/ปี คิดเป็น 1.2-1.3% ของทั้งหมดเท่านั้น แต่ผลผลิต 90-95% เป็นสายพันธุ์โรบัสต้า กาแฟที่ผลิตได้เราบริโภค ภายในประเทศ 30,000 – 50,000 ตัน ที่เหลือประมาณ 50,000 – 55,000 ตัน จะส่งออกขายไปยังประเทศ อเมริกา เกาหลี เนเธอแลนด์ ญี่ปุ่น และโปแลนด์ เป็นต้น ซึ่งการส่งออก มีทั้งประเภทที่แปรรูปแล้ว และส่งเป็นเมล็ดกาแฟ ที่มีโรงงานกาแฟยี่ห้อดัง ๆ อยู่ตามจังหวัดภาคใต้ ที่เปิดบริษัทรับซื้อเมล็ดกาแฟ แล้วนำมาคั่วบด หรือทำเป็นกาแฟสำเร็จรูปส่งจำหน่าย การปลูกกาแฟในประเทศไทย มีมานานกว่า 20 ปีแล้ว

สายพันธุ์ของกาแฟ

ก่อนที่คุณจะทำธุรกิจกาแฟนั้น คุณจะต้องรู้จักสายพันธุ์กาแฟก่อน สายพันธุ์กาแฟในโลกนี้มีอยู่ สายพันธุ์คือ อาราบิก้า โรบัสต้า เอ็กซิล่า และเบอริก้า แต่สายพันธุ์ที่ปลูกได้มากในประเทศไทย มี สายพันธุ์ คือ โรบัสต้า และอาราบิก้าเพราะก่อนที่คุณจะซื้อกาแฟคุณจะต้องถามผู้ขายว่าใช้กาแฟ สายพันธุ์อะไร กาแฟพันธุ์อาราบิก้านั้น จะมีความหอมชวนดื่ม ปลูกมากทางภาคเหนือ เพราะชอบอากาศเย็น ปลูกที่เชียงใหม่มากที่สุดและมีที่แม่ฮ่องสอน ตาก เชียงราย ผลผลิตผลิตได้800-850 ตัน/ปี คิดเป็น 4-5% ของที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น เพราะพื้นที่ที่มีอากาศเย็นของบ้านเรามีน้อย ส่วนสายพันธุ์โรบัสต้า จะมีกลิ่นหอมน้อยกว่า อาราบิก้า ปลูกได้มากทางภาคใต้ของประเทศ คือ จังหวัด ระนอง ชุมพร กระบี่ นครศรีธรรมราช ผลิตได้ประมาณ 95% ของผลผลิตทั้งหมดของประเทศ

ตลาดกาแฟ

การจำหน่ายกาแฟ จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ
1.     กาแฟคั่วบด คือกาแฟสำหรับตลาดระดับบน เป็นกาแฟเมล็ดที่คั่วแล้ว และนำมาบดชงให้ลูกค้าดื่ม ในการทำธุรกิจตลาดนี้มักใช้ สายพันธ์อาราบิก้า นำมาคั่วบดซึ่งจะมีความหอมชวนดื่มมากกว่า ธุรกิจตลาดระดับพรีเมี่ยมนั้นเกิดมาเมื่อ 7 ปีที่แล้ว แต่มาในช่วง 2-3 ปีหลังนี้มีการขยายตัวชัดเจนและเร็วมากกว่า 6 เท่าตัว เมื่อเทียบกับปี 2540 ธุรกิจนี้กำลัง อยู่ในกระแสนิยมเป็นแฟชั่น ซึ่งตลาดยังเปิดกว้าง แต่ประเด็นสำคัญสำหรับผู้ที่สนใจธุรกิจนี้จะต้องตระหนัก ก็คือจำนวนกลุ่มเป้าหมายมีน้อย ซึ่งเป็นกลุ่มคนชั้นกลางขึ้นไป ซึ่งมีเพียงร้อยละ 20 ของประชากร ซึ่งนับว่า เป็นจุดที่มีความเสี่ยงในการลงทุน ดังนั้นก่อนที่คุณจะเปิดร้านจะต้องมีการทำการศึกาพฤติกรรมของผู้บริโภค ในบริเวณนั้นให้แน่ใจเสียก่อนว่า จะมีกลุ่มเป้าหมายเข้ามาใช้บริการร้านของคุณมากพอ คุ้มค่ากับการลงทุนของคุณหรือไม่ นอกจากนี้ภาวะการแข่งขัน เป็นอีกข้อหนึ่งที่คุณต้องคิดถึง เพราะถ้าหากมีร้านกาแฟระดับพรีเมี่ยมที่มีทุนสูงและมีความสามารถในการดำเนินงานที่ดีกว่า จะทำให้การแข่งและเกิดความเสี่ยงเช่นกัน ถึงแม้ตลาดนี้ยังมีโอกาสที่กว้างอยู่ แต่การแข่งขันจะทำให้เกิดการคัดเลือกเฉพาะรายที่ดีที่สุด และมีจุเด่นของตัวเอง เท่านั้นที่จะอยู่ได้
2.       กาแฟผงสำเร็จรูป เป็นกาแฟผงที่ใช้ชงกันตามบ้าน ซึ่งมีการบริโภคกันมากที่สุด
3.       กาแฟพร้อมดื่ม คือกาแฟกระป๋อง

ปัจจัยที่มีผลต่อรสชาติของกาแฟ

ถ้าหากร้านของคุณจะชงกาแฟได้อร่อยกว่าร้านของคนอื่น คุณจะต้องทราบว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อรสชาติของกาแฟ ซึ่งก็มี 5 ส่วนก็คือ
1. ชนิดของกาแฟ
การเลือกกาแฟ ผู้ขายจะต้องเรียนรู้ว่ากาแฟอะไร มีกลิ่นหอม และรสชาติที่แตกต่างกันอย่างไร และใช้กาแฟบด หรือกาแฟสำเร็จรูป ในกลุ่มของกาแฟคั่วบด จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
          - สเตรทคอฟฟี่ (Straight coffee) หมายถึง พันธุ์อาราบิก้าแท้ 100% ที่มาแหล่งปลูกเดียวกัน เช่น บราซิล เคนย่า จาไมก้า บลูเม้าเท่น เป็นต้น
          - คอฟฟี่ แบล็นด์ เป็นการใช้กาแฟผสมกัน เช่น พันธุ์อาราบิก้าผสมกับ โรบัสต้า หรือใช้พันธุ์อาราบิก้า 2 ชื่อขึ้นไปผสมกัน

2. การคั่วบด
กาแฟที่มีรสชาติอ่อน และรสเข้มนั้น เกิดจากการคั่วบด และวิธีการบดหยาบหรือละเอียด ก็เป็นตัวแปรอีกอันหนึ่งของรสชาติของกาแฟแตกต่างกัน กาแฟที่บดหยาบ รสชาติจะอ่อนกว่า กาแฟที่บดละเอียด ก่อนบดกาแฟทุกครั้ง ขอให้คุณแน่ใจว่าเป็นชนิดไหน เพื่อให้ได้ขนาดของเกล็ดเหมาะกับอุปกรณ์ โดยหลักของการบดที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาของน้ำชงผ่านกาแฟเพราะฉะนั้น เวลาที่ใช้ในการชงกาแฟ ยิ่งเร็ว เกล็ดของกาแฟ จะยิ่งละเอียด หรือเวลาที่ใช้ในการชงกาแฟยิ่งช้าเกล็ดของกาแฟจะยิ่งหยาบ

3. วิธีการชง
วิธีการชงกาแฟจะมีหลายแบบด้วยกัน คือแบบกระดาษกรอง แบบใช้แรงดัน หรือแบบเครื่องชงอัตโนมัติ ซึ่งวิธีการชงก็จะมีผลที่ทำให้รสชาติของกาแฟออกมาไม่เหมือนกัน จุดเริ่มต้นของวิธีการชงในปี ค..1300 กาแฟมีการนำเมล็ดกาแฟดิบมาคั่ว แล้วต้มดื่มทั้งเม็ด ยังไม่มีการบด           ต่อมามีการนำเม็ดที่คั่วมาตำให้แตกเป็นผงแล้วนำไปต้มน้ำให้เดือด แล้วดื่มทั้งกาแฟที่แช่อยู่ในน้ำ ซึ่งยังไม่มีการกรอง
ต่อมาพบว่าการต้มพร้อมดื่มมีรสชาติที่เข้มเกินไป จึงกรองผงกาแฟออกเป็นน้ำกาแฟที่มีรสอ่อนลง แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยม จนกระทั่งปี ค.. 1710 ชาวฝรั่งเศส มีการคิดค้นวิธีการชงกาแฟแบบใหม่ คือ การนำน้ำร้อนไปเทผ่านกาแฟคั่วบด ด้วยการนำกาแฟคั่วบดใส่ถุงผ้าที่ขึงปากถุงด้วยลวด แล้วเทน้ำร้อนผ่านถุงผ้า ผลที่ได้ก็คือ น้ำกาแฟมีรสชาติกลมกล่อมลงตัว กลายเป็นที่นิยมแพร่หลายแทนการต้มกาแฟ และหลังจากนั้นก็มีการพัฒนาเครื่องชงกาแฟหลายรูปแบบ โดยใช้หลักการเอาน้ำร้อนผ่านกาแฟ เพื่อสกัดเอารสชาติของกาแฟออกมา

มีเทคนิคแนะนำง่าย ๆ เพื่อให้ชงกาแฟได้อร่อยก็คือ

-          ใช้กาแฟคั่วบดที่ใหม่สดเสมอ

-          บดกาแฟให้ได้เกล็ดเหมาะกับอุปกรณ์กาแฟที่ใช้ (หยาบ ปานกลาง ละเอียด ผง)
-       ใช้ปริมาณให้เพียงพอต่อการชง 1 ถ้วย ปกติกาแฟ 1 ถ้วย ใช้กาแฟคั่วบด 8-10 กรัม แต่ถ้าชงกาแฟ ในน้ำที่กระด้างมาก หรือชงกาแฟที่ใส่นมควรเพิ่มกาแฟคั่วบดให้มากขึ้นเล็กน้อย
-          ใช้น้ำสะอาด ปราศจาก ตะกอน สี กลิ่น รส
-       น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิเหมาะสมในการชงกาแฟ คือ อุณหภูมิ 94 องศาเซลเซียส หรือน้ำร้อนหลังจากที่เดือดและปล่อยทิ้งไว้สักครู่ ไม่ควรใช้น้ำร้อนที่เดือดจัดชงกาแฟ เพราะจะทำให้ผงกาแฟไหม้ หรือถูกลวกอย่างแรง ทำให้น้ำกาแฟที่ได้จะขม
-          กรณีที่อากาศเย็น ควรลวกถ้วยกาแฟให้ร้อนก่อนเทน้ำกาแฟลงไป
-          ดื่มกาแฟที่ชงเสร็จใหม่ ๆ
-          ไม่ควรนำผงกาแฟที่ใช้แล้วมาชงซ้ำอีก
4.       ส่วนผสมพิเศษต่าง ๆ
 ชนิดของส่วนผสมของน้ำตาล ครีม ทำให้รสชาติแตกต่างกันออกไป จะเห็นว่าแต่ละร้านมีการเลือกส่วนผสมที่หลากหลาย เช่น คาปูชิโน บางแห่งก็ใช้นมสด บางแห่งให้นมถั่วเหลือง และไซหรับที่ใส่ในกาแฟ ช็อคโกแลต คาราเมล วานิลา น้ำผึ้ง เครื่องเทศ สุรา ไอศกรีม และวิปปิ้งครีมต่าง ๆ สามารถนำมาประยุกต์ทำเป็นสูตรของตัวเองที่ทำให้รสชาติต่างไปจากร้านอื่นได้
5.       การเก็บรักษา
 กาแฟที่สัมผัสกับอากาศนั้นจะทำให้กลิ่นหมดไปและมีผลต่อรสชาติ ดังนั้นผู้ที่ขายกาแฟจะต้องให้ความสำคัญ ศึกษาวิธีการเก็บรักษา ควรเก็บกาแฟคั่วบดให้อยู่ในภาชนะที่ปิดสนิท วางให้ห่างจากอาหารที่มีกลิ่นแรง ห่างจากแสงแดด และเก็บในอุณหภูมิห้องปกติ ควรเลือกขนาดภาชนะให้เหมาะกับปริมาณกาแฟ เพื่อขจัดช่องว่างของอากาศให้น้อยที่สุด ควรซื้อกาแฟใช้พอใช้ของแต่ละรอบเพื่อให้ได้กาแฟที่ใหม่ สดเสมอ ควรล้างและเก็บรักษาอุปกรณ์การชงกาแฟ ให้สะอาดทั้งก่อนใช้และหลังใช้
อุปกรณ์การชงกาแฟ
การชงกาแฟคั่วบดมีหลักการพื้นฐานง่ายที่ใช้ได้กับทุกอุปกรณ์ ที่สามารถนำน้ำร้อนผ่านเพื่อสกัดเอาน้ำกาแฟที่เต็มไปด้วย รสชาติ ความหอม และความสดจากกาแฟแท้ ไม่มีอุปกรณ์ชิ้นใดที่ถูกระบุว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นที่ดีที่สุด ในการชงกาแฟ ควรขึ้นอยู่กับความสะดวก ความชอบของแต่ละท่านที่มีต่ออุปกรณ์การชงกาแฟชิ้นนั้น ๆ อย่างไรก็ตามเราก็ต้อง รู้จักเครื่องชงของแต่ละประเภทสำหรับการเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม คือ


เครื่องชงกาแฟแบบกรอง


เครื่องชงกาแฟแบบกรอง ประดิษฐ์ขึ้นโดย M.DeBelloy ตัวเครื่องแบ่งเป็น ส่วน คือ ส่วนบน และส่วนล่าง วิธีการชง เทน้ำร้อนใส่กรอยด้านบนที่มีกาแฟบดปานกลาง บรรจุอยู่ในกระดากรอง น้ำจะไหลผ่าน และค่อย ๆ หยดเป็นน้ำกาแฟที่โถรองด้านล่าง กาแฟที่ได้จะถูกใจผู้ที่ชื่นชอบกาแฟบางใส รสชาติกลมกล่อม รสเข้มปานกลาง ปราศจากความมัน แต่จะมีผงกาแฟ เป็นส่วนประกอบตามธรรมชาติ ที่เป็นสไตล์ของเครื่องชงกาแฟแบบกรอง
ในตลาดของเครื่องชงกาแฟแบบกรอง จะมีการผลิตออกมาวางจำหน่ายเป็น จำนวนมากหลากหลายรูปแบบ ให้ได้เลือกตามความต้องการ มีให้เลือกได้ตั้งแต่ตามขนาดของกระดาษกรอง วัสดุที่ใช้ทำตัวกรอง หรือแม้แต่รูปร่างของกรวยที่วางกระดาษกรอง ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มดังนี้
-          เครื่องชงกาแฟแบบกรอง กรวยกาแฟทรงโคน
-          เครื่องชงกาแฟแบบกรอง กรวยกาแฟทรงลิ่ม
-          เครื่องชงกาแฟแบบกรอง กรวยกาแฟทรงท้องแบน

เครื่องชงกาแฟระบบสูญญากาศ (Vacuum)

เทคนิคการชงกาแฟที่น่าตื่นตาตื่นใจ ถูกประดิษฐ์ประมาณปี 1840 โดยวิศวกรชาวสก๊อต Robert Napier ประกอบด้วยกระเปาะแก้ว ใบ พร้อมท่อส่งน้ำ ตัวกรองตรงกลาง และตะเกียงจุดไฟเล็ก ๆ บางครั้งเราเรียกอุปกรณ์ชิ้นนี้ว่า ไซฟ่อน” หรือ กาลักน้ำ
 กาแฟที่ได้จากการชงด้วยระบบสูญญากาศนี้ รสชาติของกาแฟที่ได้ ไม่มีความแตกต่างด้วย วิธีการชงกาแฟแบบกรอง กาแฟที่ได้จะบางใส รสชาติ เข้มปานกลาง ปราศจากความมัน และผงกาแฟที่เป็นส่วนประกอบ ตามธรรมชาติที่ควรมี ส่วนความแตกต่างที่ชัดเจนคือ ความซับซ้อนของ กระบวนการชงกาแฟที่เกิดจากการถ่ายเทน้ำ ไปมาระหว่างกระเปาะแก้ว ใบ ซึ่งสามารถสร้าง ความพิศวงให้แก่ผู้พบเห็นได้ไม่น้อย

การเตรียมกาแฟด้วยเครื่องชงกาแฟแบบกรอง

1.       เติมน้ำในกระเปาะแก้วใบล่าง
2.       ค่อย ๆ ใส่กระเปาะแก้วใบบนพร้อมท่อส่งน้ำไว้บนกระเปาะแก้วใบล่างยึดกระเปาะแก้ว ใบ ให้แน่นติดกันโดยค่อย ๆ กดและบิดกระเปาะแก้ว ใบ ในลักษณะสวนทางกัน
3.       จุดไฟที่ตะเกียง วางตะเกียงใต้กระเปาะแก้วใบล่าง ตักกาแฟใส่ในกระเปาะแก้วใบบน
4.       หลังจากนั้นน้ำที่ถูกต้มจนเดือดแล้ว จะค่อย ๆ ไหลขึ้นไปละลายกาแฟที่อยู่ในกระเปาะด้านบนตามท่อส่งน้ำ เมื่อน้ำเดือดในกระเปาะล่าง ไหลขึ้นไปในกระเปาะบนเกือบหมดแล้วให้ดับไฟที่ตะเกียง น้ำที่เหลือยังคงไหลอยู่
5.       ชงกาแฟกับน้ำในกระเปาะ ด้านบนให้เข้ากัน และให้แน่ใจว่ากาแฟเปียกน้ำทั้งหมดอย่างทั่วถึง
6.       เมื่ออุณหภูมิในกระเปาะแก้วใบล่าง เริ่มลดลงในระดับหนึ่งจะทำให้เกิดภาวะสูญญากาศ ขึ้นในกระเปาะแก้วใบล่าง ในภาวะเช่นนี้น้ำกาแฟ ที่อยู่ในกระเปาะ แก้วด้านบนจะถูกดูดลงมา อยู่ใน กระเปาะแก้วใบล่าง และทิ้งกาแฟที่ใช้แล้วไว้ในกระเปาะแก้วด้านบน
7.       ค่อย ๆ ดึงกระเปาะแก้ว ด้านบนออก
8.       เทน้ำกาแฟที่ได้ในกระเปาะล่าง ในถ้วยกาแฟเสริฟทันที




การชงกาแฟระบบแรงดันไอน้ำ (Espresso Machine)


โดยหลักพื้นฐานการชงกาแฟ ของเครื่องชงกาแฟทั่วไปคือ การนำกาแฟคั่วบดแช่ในน้ำร้อน เพื่อให้กาแฟ ละลายส่วนความแตกต่าง ของเครื่องชงกาแฟเอสเปรสโซ่กับ เครื่องชงกาแฟทั่วไปคือ แรงดันไอน้ำ จะขับดันน้ำร้อน ผ่านกาแฟที่บดละเอียด ที่ถูกกดอัดอยู่ในบล็อกกรองออกมาเป็นน้ำกาแฟ


วิวัฒนาการของเครื่องชงกาแฟระบบแรงดันไอน้ำ
เครื่องชงกาแฟเอสเปรสโซ่ที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้ตามร้านอาหารและเครื่องชงกาแฟเอสเปรสโซ่เล็ก ๆ ที่ใช้กันตามบ้านในสมัยก่อน ใช้หลักการง่าย ๆ คือ น้ำถูกต้มให้เดือดในแทงค์ปิดสนิทเพราะฉะนั้นแทงค์น้ำจะประกอบไปด้วยน้ำร้อนและไอน้ำที่รวมตัวอัดแน่นกันอยู่ ดังนั้นเมื่อเราเปิดวาวล์ที่อยู่ใต้ท่อน้ำไอน้ำที่ถูกกักไว้ในแทงค์จะดันน้ำร้อนออกมาตามช่องวาวล์ที่เราเปิดไว้และพุ่งผ่านกาแฟบดจนกลายเป็นกาแฟเอสเปรสโซ่
ต้นแบบเครื่องชงกาแฟแรงดันไอน้ำหรือเครื่องชงกาแฟ เอสเปรสโซ่เริ่มประดิษฐ์ขึ้นประมาณปี ค.. 1822 โดย Louis Bernard Rabaut นับตั้งแต่นั้นมาได้มีการนำต้นแบบ เครื่องชงกาแฟแรงดันไอน้ำ นี้มาพัฒนาและปรับปรุงอีก หลากหลายรูปแบบจนกระทั่งปัจจุบัน

การชง  (Brewing) การชงกาแฟที่ดี จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง  ดังนี้

-          กาแฟ ต้องเลือกกาแฟที่ดี มีคุณภาพ ผ่านกระบวนการคั่ว บด และเก็บรักษาที่ถูกวิธี
-       น้ำ ใช้น้ำที่ใสสะอาดผ่านการกรองแล้ว เพราะน้ำที่มีรสหรือกลิ่นจะทำให้รสชาติของกาแฟผิดเพี้ยนไป  อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมต่อการชงกาแฟมากที่สุดอยู่ที่ประมาณ  94 –98 องศาเซลเซียส
-       อุปกรณ์ เครื่องชงและกาแฟบดต้องมีความสัมพันธ์กันดังที่กล่าวมาแล้ว กาแฟที่บดละเอียดจนเกินไป  จะใช้เวลาชงมากกว่าปกติ และทำให้กาแฟมีรสชาติขม  ส่วนกาแฟที่บดหยาบเกินไป  จะใช้เวลาชงน้อยกว่าปกติ  ทำให้กาแฟที่ได้มีรสชาติเจือจาง ทั้งนี้เพราะน้ำที่ใช้ชงกาแฟมีโอกาสดูดซับและสัมผัสกาแฟต่างกัน รสชาติกาแฟที่ได้จึงต่างกันด้วยโดยทั่วไปแล้ว สูตรการชงกาแฟที่ดีจะใช้ปริมาณกาแฟ 2  ช้อนโต๊ะ  ต่อน้ำ  6  ออนซ์ และก่อนรินกาแฟลงถ้วย  ผู้ชงควรอุ่นถ้วยกาแฟเสียก่อน เพื่อเก็บความร้อนของกาแฟให้นานยิ่งขึ้น


สูตรเครื่องดื่มกาแฟ


ร้านกาแฟส่วนใหญ่จะมีสูตรการชงกาแฟเฉพาะของตัวเอง รายการเครื่องดื่มกาแฟในแต่ละร้านจึงมีชื่อเรียกที่ต่างกันออกไป แต่สูตรที่เป็นสากลและรู้จักกันโดยทั่ว  ไป ได้แก่
-       เอสเปรสโซ่ (Espresso) : การนำกาแฟอาราบิก้าชนิดคั่วเข้มแบบ อิตาเลี่ยนโรสต์ หรือ เอสเปรสโซโรสต์  มาบดชงด้วยน้ำร้อนปริมาณ  1-1 ½ ออนซ์ ต่อครั้ง ไม่ควรชงกาแฟเอสเปรสโซ ไม่ควรชงกาแฟเอสเปรสโซครั้งละมากกว่า 2 ออนซ์  เพราะทำให้รสชาติกาแฟด้อยลง
-          คาปูชิโน่ (Cappuecino) :เอสเปรสโซผสมกับนมร้อน (150-170 องศาเซลเซียสและปิดด้วยฟองนม (Foamed milk)ในปริมาณ 6 ออนซ์ ที่อุ่นร้อนไว้ก่อน ถ้าเป็นคาปูชิโน่เย็นจะใช้วิปครีมแทนฟองนม
-          ริสเทรตโต (Ristretto) :เอสเปรสโซที่ชงด้วยน้ำน้อยกว่าปกติครึ่งหนึ่ง จะได้เอสเปรสโซ ชนิดเข้มข้น
-          มอคค่า  (Mocca) : การเติมน้ำเชื่อมช็อคโกแลตแท้หรือมอคค่าที่ก้นแก้ว ตามด้วย เอสเปรสโซ  1 ออนซ์ นมร้อน และปิดทับด้วยวิปครีม โรยหน้าด้วยช็อคโกแลตเกล็ดหรือผง
-       แคฟฟี่ ลาเต้เอสปรสโซ  1  ออนซ์  ผสมนมร้อนจนเต็มถ้วย ปิดทับหน้าด้วยนมตีฟอง (Caffee Latte)หรือ  (Foamed milk) ¼ นิ้ว อาจโรยเกร็ดช็อคโกแลต

การเก็บรักษากาแฟเพื่อลดความสูญเสีย

การเก็บรักษากาแฟที่ดีจะทำให้กาแฟคงสภาพความสดใหม่ได้นาน ทั้งรสชาติและกลิ่นหอม ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการเก็บรักษากาแฟ  ได้แก่ อุณหภูมิ  แสง  อากาศ ความชื้น สำหรับข้อควรปฏิบัติใน
การเก็บรักษากาแฟ  คือ
-          เก็บกาแฟไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท
-          เก็บกาแฟไว้ในที่เย็น อย่าให้กาแฟโดนความร้อนหรือแสงแดด  เพราะกลิ่นหอมของกาแฟอาจจางหายไปอย่างรวดเร็ว
-       ไม่ควรเก็บกาแฟไว้ในตู้เย็น  เพราะกาแฟจะดูดซับเอากลิ่นอาหารต่าง   ในตู้เย็นเข้าไปด้วย นอกจากนี้  การหยิบภาชนะที่บรรจุกาแฟเข้าออกจากตู้เย็นบ่อยครั้ง  กาแฟอาจเกิดความชื้นขึ้นได้
-          ควรบดเมล็ดกาแฟในปริมาณที่เหมาะสมกับต่อการบริโภค  ร้านไม่ควรบดกาแฟทิ้งไว้ล่วงหน้านานเกิน  1  เดือน


ติดต่อ
รายละเอียดเรื่องเมล็ดกาแฟคั่ว เครื่องบด เครื่องชงกาแฟ และกรรมวิธีการชงกาแฟ ผู้ประกอบการสามารถหาเพิ่มเติมได้จากบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่าย ดังนี้
.กาแฟบ้านเรา จำกัด http://coffeefresh.velocall.com Tel. 0-2801-7428 กด 1
.กาแฟแม่สลอง จำกัด http://www.maesalongcoffee.com/ Tel. 0-5321-1825
.บอนกาแฟ (ประเทศไทยจำกัด http://www.boncafe.co.th/ Tel. 0-2693-2570
.เคทู จำกัด http://www.k2.co.th Tel. 0-2513-7525
Ultimate Beverage Product Co.,Ltd. (94 Coffee Tel. 0-25306730
เดอะคอฟฟี่เมคเกอร์ จำกัด Tel. 0-2573-5080
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูประถัมภ์ โครงการพัฒนาดอยตุงhttp://www.doitung.org/features/thai/coffee/index.htm
 

อ้างอิง

www.geocities.com/lm_kkn/career/career_sample.htm
www.sme.go.th/websme/franchise_coffee.asp
www.thaismecenter.com/tip.asp?id=12
www.thaismecenter.com/tip.asp



POS, Restaurant Program, สั่งอาหารด้วย iPOD, iPAD, iPhone


------------------------------------------------------------



ความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (ระบบ IT) ของMK


Printer, PDA, iPOD, iPAD, iOS, Take Order, Touch Screen
เพิ่มคำอธิบายภาพ


ประวัติ MK Restaurant

อาหารสุกี้ ที่เป็นที่นิยมกันอย่างมากในหมู่คนไทยและชาว ต่างประเทศ ที่มาเที่ยวเมืองไทยจนเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง ของประเทศไทยไปแล้วนั้น มีประวัติยาวนาน หลายสิบปีมาแล้วกว่าที่ จะพัฒนามาเป็น สุกี้แบบที่ปัจจุบันนิยมทานกันอยู่ ราว ๆ 40 กว่าปีมาแล้ว (ราว ๆ พ.ศ. 2498) มีภัตตาคารจีน ชื่อ กวนอา อยู่แถว ๆ บางรัก มีรายการอาหารชุดหม้อไฟ เตาถ่าน หม้ออะลูมิเนียม ส่วนของสด ที่เสิร์ฟจะอยู่ในจานเปล ขนาดใหญ่ ก็จะมีเนื้อวัว ตับหมู วุ้นเส้น ผักต่าง ๆ ตอกไข่ใส่ ผสมรวมกันมา ดูน่าทาน น้ำจิ้มจะเป็น สไตล์เต้าฮู่ยี้ แต่รสจัด เวลาไปทานจะไปกันเป็นครอบครัว ไม่ต้องนั่งห้องแอร์สมัยนั้นคนที่ทานสุกี้แบบนี้เป็นมีไม่มากนัก ต้องเป็นขาประจำจริงๆ จึงจะทานเป็น
หลังจากยุคแรกนี้แล้ว ราว ๆ สัก 12 ปี ภัตตาคารจีนชื่อ โคคา อยู่แถว ๆ สยามสแควร์ ก็เริ่ม นำเสนออาหาร ชุดสุกี้โดย ดัดแปลง เอาเตาแก๊ส หม้อเสตนเลส มาใช้งานส่วนของสดนั้น ก็จัดออกมา เป็นชนิด ๆ แยกกันสามารถสั่ง ตามความชอบได้ โดยเพิ่มรายการพวกลูกชิ้นต่างๆ เนื้อ ปลา เนื้อกุ้ง ปลาหมึก ฯลฯ ใส่ในจานเปลขนาดเล็ก ซ้อนไปซ้อนมา ดูน่าสนุก ส่วนน้ำจิ้มได้เปลี่ยนเป็นสูตรใหม่ ซึ่งใช้ซ้อสพริก และน้ำมันหอยเป็นหลัก ร้านสุกี้ที่เกิด ใกล้ ๆ ยุคนี้มีมากมาย หลายยี้ห้อ เช่น แคนตั้นหลาย - หลายเท็กซัสไซน่าทาวน์โคคา ยี่ห้อเลียนแบบทั้งหลายแหล่ แต่ที่นับว่า ขึ้นชื่อลือชา ก็อยู่ในกลุ่มที่อยู่บริเวณ สยามแสควร์นั่นเอง พร้อมๆ กันสุกี้ ในยุคแรกก็ค่อย ๆ เสื่อมความนิยมไป แต่สุกี้ในยุค เตาแก๊สนี้ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ สุกี้หลายรายเริ่มมีการขยายสาขาเป็นเครือข่าย 2 - 3 สาขา

ยุคแรกของ MK Restaurant
เริ่มแรกของMK นั้นเกิดที่สยามสแควร์เป็นร้านอาหารไทย คูหาเดียว ดำเนินกิจการโดยคุณป้าทองคำ เมฆโตโดยซื้อ กิจการมาจากคุณ MAKONG KING YEE(ชื่อย่อเป็น MK ) ซึ่งได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ BOSTON ที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2505คุณป้าทำกิจการมาจนได้ดิบได้ดีอีกทั้งลูกค้าที่มาอุดหนุนทาน ก็ได้ดิบได้ดีไปเช่นกันจนเป็นที่รู้จักในวงการ บันเทิงมากมาย นั่นก็เป็นเพราะความ"ใจดี"ของคุณป้า นั่นเองทาน แล้วไม่มีเงินจ่าย ก็ติดไว้ก่อน ป้าก็ไม่ทวง ทั้งลูกค้าทั้งเจ้าของร้าน ๆ สนิทสนมกัน เหมือนญาติ เรียกกันพี่ป้าน้า หลานตลอด อาหารขึ้นชื่อสมัยนั้นมี หลายอย่างอาทิ ข้าวมันไก่ เนื้อตุ๋น แป๊ะซะปลาช่อน ผัดไทย ผัดขี้เมา เนื้อย่างเกาหลี (เตาถ่านจริง ๆ ) ยำแซบ ๆ ทุกชนิด อีกทั้งมีเค้กแสนอร่อยขายตอนปีใหม่อีกด้วย
กิจการค้าเริ่มก้าวหน้า ไปเป็นลำดับ จาก คูหา ขยายเป็น คูหา จวบจนล่วงเข้าปี 2527 ห้างสรรพสินค้าต่างๆ เริ่ม ผุดขึ้นหลาย ๆ แห่ง คุณป้าได้รับการชักชวนให้ไป เปิดร้านในเซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว ของนายห้างสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ และให้ชื่อร้านใหม่ว่า ร้านกรีน เอ็ม เค ซึ่งก็ยังคงเป็นร้านอาหารไทยอยู่เช่นเดิมและมี ลูกค้ากลุ่มครอบครัว และออฟฟิตเข้ามาอุดหนุนกัน อย่างคับคั่ง

ยุคที่สองของ MK Restaurant
                ใน 2 ปีถัดมาก็คุณ สัมฤทธิ์ ได้ชักชวน ให้มาเปิดร้านสุกี้MKสาขาแรก ใน ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าวนั่นเอง ซึ่งขณะนี้ลูกชายลูกสาว และลูกเขยของ คุณป้าทองคำ ก็ได้ มาช่วยบริหารงานตาม วิธีการแผนใหม่ และทำการขยายสาขาขึ้น อย่างต่อเนื่อง 14 ปีหลังจากนั้นก็สามารถขยายสาขาไปทั่วกรุงเทพและต่างจังหวัด ได้รวมๆกัน 153 สาขาโดยใช้ หลักการบริการที่ นำความพอใจมาสู่ลูกค้าเป็นแกนนำ การฝึกอบรมพนักงาน อย่างจริงจัง และถนอมน้ำใจ ของลูกน้องทุก ๆ คน เหมือนเป็นครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่ง การตั้งหน้าตั้งตาปรับปรุง ระบบงาน อยู่ตลอดเวลา (CONTINUOUS IMPROVEMENT) การเลือกตั้งร้านที่เหมาะสม ตั้งราคาอาหาร เหมาะสม กับกำลังทรัพย์ ของคนชั้นกลาง และครอบครัวและเน้นการฝึก ผู้จัดการที่มี ความสามารถ สิ่งเหล่านี้เป็นรากฐานค้ำจุน MK ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง จวบจนทุกวันนี้
               
ยุคที่สามของ MK Restaurant
เริ่ม ราวๆปี 2539(ประมาณ 14 ปีที่แล้ว) โดยภัตตาคารเอ็ม เค เริ่มเปิดสาขาแรกที่ห้าง เซ็นทรัล ลาดพร้าว โดยเปลี่ยนหม้อต้ม เป็นหม้อไฟฟ้าซึ่งจะปลอดภัยกว่าระบบใช้แก๊ส ส่วนอาหารและ น้ำจิ้มนั้น คงใช้สูตรดั้งเดิมที่เป็น ที่นิยมอยู่แล้ว แต่ดัดแปลง ให้ถูกโภชนาการมากขึ้น เช่นลดการใช้ผงชูรสลงนำการ บริหารร้านอาหารแบบมืออาชีพ เข้ามาจัดการในงานบริการ และคุณภาพอาหารการตลาด การออกแบบร้าน และ การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ภัตตาคารเอ็มเค สามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว โดยเลือก สถานที่ที่สะดวกแก่ลูกค้า ทำให้มี 148 สาขาทั้งในกรุงเทพ และ ต่างจังหวัด ในขณะที่ สุกี้อื่นๆ ในเมืองไทย มีไม่เกิน 10 สาขายุคนี้ถือว่าเป็นยุคที่ทำให้ คนไทยทุกชนชั้น ทุกเพศ ทุกวัย มีโอกาส รับประทานสุกี้ จนเป็นอาหาร ประจำอย่างหนึ่ง ของคนไทย

MK Restaurant ในปัจจุบัน
เรายังพอหาทานสุกี้ยุคแรกได้ที่ร้าน กวนอา ตรงต้น ถนนสาทรเหนือฝั่งพระรามส่วนสุกี้ยุคสองนั้น จะหายากหน่อยเพราะ ร้านส่วนใหญ่กลัวอันตรายจากแก๊ส หันมาใช้เตาไฟฟ้ากันหมด

ปัญหาและสาเหตุที่นำระบบสารสนเทศมาใช้

1.  การสั่งจองแบบเดิมทำให้เกิดความล่าช้าลูกค้ารอนาน
2.  เข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้ล่าช้า
3.  ไม่สามารถสั่งอาหารได้ทีละหลายเมนู
4.  ไม่สามารถเลือกเมนูหรือสั่งอาหารนอกเหนือเมนูได้
5.  ไม่สามารถจัดการโต๊ะอาหารได้รวดเร็วในกรณีย้ายโต๊ะ  เปลี่ยนโต๊ะ
6.  คิดเงินลูกค้าได้ล่าช้า
7.  ไม่สามารถจองโต๊ะได้ (ในกรณีที่โทรศัพท์ไม่ติด)
8.  ไม่สามารถใส่หมายเหตุรายการอาหารได้อย่างอสระ เช่น ลูกค้าแพ้อาหารทะเล
9.  การสั่งอาหารแบบเดิมไม่สามารถส่งข้อมูลติดต่อกันระหว่างเครื่อง คอมพิวเตอร์เดสทอป
10. ไม่สามารถส่งข้อมูลรายการอาหารไปยังครัวทันทีได้



        


ผลที่ได้รับจากการใช้ระบบสารสนเทศ


1. ลดเวลาและความผิดพลาดในการจดออร์เดอร์ด้วยกระดาษและต้องนำไปป้อนที่ แคชเชียร์อีกครั้ง
 2. ทำให้เสริฟอาหารได้รวดเร็วขึ้น
 3. เพิ่มกำลังการให้บริการได้มากขึ้น  จากการหมุนเวียนของลูกค้าได้เร็ว  ทำให้ไม่ต้องเพิ่มพื้นที่ในร้าน
4.  ลดค่าใช้จ่าย  และจำนวนของพนักงานจดออร์เดอร์
5.  ลดค่าใช้จ่าย  และจำนวนของพนักงานที่ต้องการใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของบิลอีกครั้ง
6.  พนักงานแคชเชียร์มีเวลาเพิ่มมากขึ้น  สามารถออกไปช่วยบริการลูกค้าที่หน้าร้าน  หรือตามโต๊ะได้
7. ลดความวุ่นวายจากการเดินไปเดินมาของพนักงานในร้าน  ทำให้บรรยากาศในร้านดีขึ้น
8. การใช้ EJ (Electronic  Journal  เป็นทางเลือก)  ด้วยปริ๊นเตอร์  Thermal  จะช่วยให้ร้านเงียบขึ้น   และการบำรุงรักษาต่ำ สามารถส่งข้อมูลรายการอาหารที่ลูกค้าสั่งส่งไปยังห้องครัวได้ทันที

จัดการสาขา...ร้านอาหาร ที่ไม่มีใครสอน


     มีคนมากมาย ประสบความสำเร็จสูงสุดในการทำร้านอาหาร 1 แห่ง คิดว่าจะขยายเพิ่มขึ้นไปอีก 5 แห่ง หรือซัก 10 แห่ง 
แต่กลับไปได้ไม่สวยนัก เช่นเดียวกับกิจการร้านอาหารจำนวนมาก ล้มเหลวจากการทำแฟรนไชส์ หลังจากขายได้มาก 50-100 สาขา
แต่ออกปิดไปทั้งหมด เพราะจบด้วยการขาดความสามารถในการบริหารควบคุมร้านสาขา


     การจัดการร้านอาหารแบบหลายสาขาเป็นเรื่องที่ไม่มีใครสอนเป็นจริงเป็นจัง แต่เรื่องนี้มีข้อแนะนำจากมืออาชีพ ถึงวิธี 
การบริหารจัดการ ร้านสาขาที่ถูก




จงทำร้านอาหารที่ถูกต้อง


» ความสำเร็จของร้านแรก 


     ความสำเร็จขั้นสูงของร้านอาหารที่เกิดขึ้นครั้งแรกมาจาก แบบอย่างเฉพาะตัว บางร้านประสบความสำเร็จ เพราะโปรดักส์ นำ 
คืออร่อย หรือบางร้านไม่อร่อย แต่บริการประทับใจ เช่นคิดแบบเจ้าของเป็นคนคิด คิดเงินเร็วมาก คิดออกเป็นสตางค์ “สามหมื่นครับ”
เป็นลูกเล่นที่แปลกๆ หรือบางร้านเสิร์ฟอาหารจานร้อนออกมาทุกครั้งต้องเป่านกหวีดเตือนคนเดินชน ทำให้ร้านคึกคัก ทำให้คนอื่นๆ
อยากสั่งบ้าง หรือบางร้านมีเถ้าแก่มาเซอร์วิส ก็จะเป็นเอกลักษณ์ ร้านพวกนี้ก็ถูกก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาด้วย 2 ปัจจัยใหญ่ คือเรื่องของ
โปรดักส์ และเซอร์วิส และส่วนใหญ่แล้ว มักจะเป็นลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ก็ต้องมีการจัดการแบบเฉพาะกลุ่ม ร้านในระดับ 1 สาขา ถามว่า
โลเคชั่น สำคัญมั้ย ก็มีเหมือนกันแต่ไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่มาก บางร้านอยู่ในที่จอดรถยาก ก็มีคนไปกิน ถามว่าการบริหารสำคัญมั้ย
ก็สำคัญน้อย ส่วนเรื่องการควบคุมต้นทุนอาหารยิ่งไม่ต้องสน อาเฮียร้านอาหารไม่รู้หรอกว่าฟู้ดคอร์สเป็นอย่างไร ขาดทุนไม่ว่า
ต้องการชื่อเสียง เต็มที่ก่อน ไม่ต้องบริหารหรอก เพราะถ้ามัวคิดนั่นคิดนี่ก็จะไปไม่รอด ขายอย่างเดียว เซอร์วิสให้ได้ก่อน ให้ลูกค้า
พอใจก่อน เพราะนี่คือ ส่วนแรกที่ทำให้เติบโต แต่ลึกๆ แล้วมันจะคอนโทรลด้วยตัวของมันเอง ที่อาจมีต้นทุนสูงแต่ ยังเหลือกำไร
ก็พออยู่ได้

» ขายดีแล้ว จะไปร้านที่สองอย่างไร


    ทีนี้แหละยาก ปัญหาที่เจอจะคล้ายๆกัน ทุกคนจะเป็นอย่างนี้ คือ เริ่มต้นปุ๊บ ลุยแบบเดิมเลย อั๊วสำเร็จแล้วมาไม่สน ลุยเลย
ลุยผิดลุยถูก ผลที่ตามมา คือ ทำกำไรมาสิบที่ ขาดทุนสี่ที่ ทำให้เจ๊งไปเลย ก็มี เพราะว่าตอนเริ่มต้นทำกำไร มันเกิดจากความ
แปลกใหม่จริง ทำเลใช่จริง กลุ่มลูกค้าใช่จริงๆ มันขาย ได้กำไรมหาศาล แต่ปัญหาก็ คือ การเปิดมาก เราจะหาทำเลแบบนี้ได้ทุกที่
หรือไม่ ไม่มีทาง ร้านส่วนใหญ่จะกำไรน้อยลง และมักจะมีขาดทุนตามมาด้วย ทำให้ฉุดร้านอื่นแย่ได้เหมือนกัน

     ปัญหาที่จะตามมาอีก คือ การจัดการ เริ่มไม่ได้แล้ว จะถูกโกง พนักงานจะโกง จะเจอปัญหาเรื่องการลงทุน คนที่บริหารร้าน
ก็เริ่มควบคุมไม่ได้ การมีร้านแห่งเดียว การจัดการยังไม่สำคัญ แต่ถ้ามีร้านมากขึ้น การจัดการจะกลายเป็นเรื่องอันดับหนึ่งที่มีความ
สำคัญที่สุดทันที 

     คุณลองนึกดูว่า อย่างร้านโคคาอร่อยมั้ย ถ้าเทียบแล้วหลายแห่งอร่อยสู้โคคาไม่ได้ แต่ถามว่าได้เปรียบหรือไม่ ยังไม่ใช่ 
ขณะเดียวกันร้านเอ็มเค เราจะเห็นว่ามีการจัดการที่เป็นเลิศ ดังนั้นการจัดการมันมีองค์ประกอบหลายอย่าง เซอร์วิส โปรโมชั่น 
กิมมิคเรื่องการตลาด เรื่องแบรนด์รอยัลตี้ 

» จัดการร้านสาขาอย่างไร 


     ถ้าเราพูดเรื่องร้านสาขา นั่นหมายถึง การเปลี่ยนการจัดการจากสองเป็นสี่เลย ที่เพิ่มมาคือ เรื่องแมนเนจเม้นท์ ที่ต้องคุมคอร์ส 
เพราะมันไม่ใช่ คุณจะทำน้ำพริก สัมตำ ที่จะใส่เท่าไหร่ก็ได้ตามใจแม่ครัว หมายความว่าคุณต้องคุมได้ สมมุติราเมนชามหนึ่ง 
บะหมี่ลวก เป็นต้นทุนกี่เปอร์เซ็นต์ ใส่เครื่องปรุงอะไรคุณต้องรู้หมด ในอาหาร 1 ชามนั้น มีต้นทุนของอะไรเท่าไร ค่าวัตถุดิบ
กี่เปอร์เซ็นต์ ค่าแรงกี่เปอร์เซ็นต์ ค่าเช่ากี่เปอร์เซ็นต์ เหลือกำไรต่อชามกี่เปอร์เซ็นต์ 

     เรื่องการจัดการร้านสาขา มันจะ ต้องบริหารหลายส่วน เช่น เรื่องของไอที เรื่องการสร้างแรงจูงใจพนักงาน การฝึกผู้จัดการร้าน
 เราจะจัดลำดับอย่างไร จะแบ่งโครงสร้างในร้านและองค์กรอย่างไร มีระบบเลื่อนขั้นเป็นอย่างไร การอบรมพนักงานจะทำอย่างไร
 เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้มีร้านสาขาอาจจะยังไม่รู้ และมักจะสิ้นสุดความฝันกัน เพราะขาดความเข้าใจเรื่องเหล่านี้

» กองหน้า และกองหลัง 


     การจัดการสาขาร้านอาหาร เมื่อมี 3-4 แห่งแล้วก็ควรจะแบ่งงานออกง่ายๆเป็น กองหน้า กองหลัง คือส่วนแบล็คออฟฟิศ 
เป็นส่วนสำนักงานสนับสนุนร้าน และส่วนฟ้อนท์ คือส่วนทำงานในร้าน 

    ส่วนฟ้อนท์คือกลุ่มอยู่ในร้านต่างๆ คือในร้านก็มีโครงสร้างร้าน มีผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ มีกุ๊ก ส่วนเซอร์วิส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละ
ธุรกิจ อย่างโรตีบอย ก็จะมีสองส่วนง่ายๆ คือส่วนผลิตกับขาย เขาก็จะมีผู้จัดการ นอกจากผู้จัดการ ก็คือ กุ๊ก แคชเชียร์ แพ็กกิ้ง
 ทีนี้ถ้าร้านขายดี คนก็ขายอย่างเดียว แพ็กก็แพ็กอย่างเดียว คนทำขนมก็ทำอย่างเดียว มีผู้จัดการร้าน และแคชเชียร์ 

     ถ้าเป็นร้านอาหารใหญ่ๆ ก็จะแบ่งเป็นส่วนครัว ส่วนแคชเชียร์ ส่วนเครื่องดื่ม ส่วนบริการ เสิร์ฟ ซึ่งก็จะแบ่งโซนและจำนวนโต๊ะ
ที่ต้องดูแล และอาจะมีการหมุนเวียนกันในแต่ละโซน และมีผู้จัดการร้าน ส่วนแบล็คออฟฟิศ ก็คือฝ่ายสนับสนุน แบ่งหน้าที่ชัดเจน
 ส่วนใหญ่เถ้าแก่ไม่เข้าใจ ข้ามผิดข้ามถูก ส่วนนี้จะมีหน้าที่รับพนักงาน ให้ความถูกความผิด ให้ทำคะแนน ทำเงินเดือน ประเมินผล 
เป็นต้น

     การจัดการแบบสาขา จะมีการแบ่งงานกันตามสายบังคับบัญชาต้องมีการจัดการแบบการสื่อสารที่มีแบบสองทาง จะต้องมีการ
ส่งข้อมูลกัน มาร์เก็ตติ้ง ส่วนออฟฟิศเหมือนกันตาบอด ทำงานได้ระดับหนึ่ง ส่วนฟ้อนท์ออฟฟิศต้องส่งข้อมูล เช่น ราคาคู่แข่งขัน
เป็นอย่างไร ราคาร้านข้างๆ เป็นไรบ้าง ที่ห้างตอนนี้มีกิจกรรมอะไร เพราะออฟฟิศจะทำไม่ทัน แม้จะมีการตรวจเยี่ยมตลาด 
ก็ทำไม่ทำ ก็จะมาพูดคุยกัน และ ต้องมีการเน้นการสื่อสารโดยเอกสาร ไม่พูดปากเปล่าแล้ว ต้องมีใบสั่งซื้อ มีการลงบัญชี 

     แต่สำหรับกิจการที่ยังไม่ได้ขยายสาขามากมายอาจมีอีกวิธีหนึ่งคือ การจ้างบริษัทภายนอกมาเป็นส่วนสนับสนุน เช่น 
จ้างทำบัญชี มีคนคอยเก็บเอกสาร หรือทำนองเดียวกันมาร์เก็ตติ้ง ให้บริษัทที่มีความชำนาญช่วยทำให้ 

» ควบคุมงานด้วย paper work

     ข้อแนะนำหนึ่งที่จะทำให้การบริหารจัดการร้านสาขามีความเป็นไปได้ก็คือ การควบคุมงานโดยเอกสารต่างๆที่ต้องทำ 
เพราะการมีร้านสาขา คือการใช้ระบบควบคุมโดยลดข้อจำกัดการพึ่งพาความสามารถของคนใดคนหนึ่ง และจะทำเช่นนี้ได้ก็จะต้อง
มีเอกสารที่ใช้รวบรวมข้อมูลทุกด้าน เพื่อใช้ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล ซึ่งมีตั้งแต่ใบสั่งซื้อ การทำเงินสดย่อย
 รายงานเงินสดเข้าประจำวัน ตารางควบคุมการสต็อกสินค้า รายงานการซื้อสินค้าประจำสัปดาห์ รายงานกะการเข้างาน 
ผลตอบรับจากการทำโปรโมชั่น ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ควรเป็นเซ็ทที่ควรรวบรวมเอาไว้ในคู่มือการดำเนินงาน (Operation manual) 

» การจัดการร้านสาขา ...หมายถึง 


    เมื่อมีร้านจำนวนมากขึ้นมา หลังจากที่มีกองหน้า และกองหลังแล้ว มีงานที่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อจัดระบบการบริหารหลาย
สาขา ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ลักษณะของงานจะมี 4-5 ส่วนดังนี้ 

          1. มีการจัดองค์กร การที่มีสามขาเพิ่มขึ้นโครงสร้างขององค์กรจะต้องมีความชัดเจน โดย มี สายบังคับบัญชา เช่น
 โดยเริ่มตั้งแต่ พนักงานที่ยังขาดทักษะ มาพนักงานดาวเด่นของร้าน มาเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ เป็นผู้จัดการ เป็นผู้จัดการเขต 
และผู้จัดการภาค และมาถึงระดับบริหาร เป็นต้น ซึ่งในแต่ละตำแหน่งจะมีการระบุหน้าที่ ความรับผิดชอบที่ชัดเจน ดังนั้นเถ้าแก่
ที่เคยเข้ายุ่งในทุกเรื่อง ก็จะดูแลในบางส่วนที่จำเป็นเท่านั้น 

          2. งานด้านการจัดการร้าน ทำอย่างไรจึงจะทำให้ร้านที่บริหารโดยคนอื่นสามารถทำกำไรได้ ที่คือโจทย์ของเรื่องนี้ 
ซึ่งจะต้องควบคุมได้ด้วยการทำคู่มือในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่จะให้ผู้จัดการดำเนินงานตามกติกา ที่ช่วยให้มีโอกาส
นการทำกำไรได้ หลักใหญ่ของการ การควบคุมผลจะอยู่ที่ผลของการดำเนินงาน ด้วยการ คุมคอร์สของร้าน เช่น กำหนดให้
ต้นทุนอาหารของร้าน ไม่เกิน 40% บางร้าน 39.8 บ้างร้าน 42.8 และจัดการสิ่งต่างๆในร้าน เพื่อให้ได้ตัวเลขบรรทัดสุดท้าย
ตามเป้า ซึ่งจะทำให้วัดผลการดำเนินงานได้ คือ จะดูตัวเลขแบบรายตัว รายสาขา รายบริษัท เพราะมาร์จิ้นแต่ละตัวไม่เท่ากัน
 ดังนั้น ร้านอาหาร เวลาเราคำนวณคอร์สติ้ง เราไม่ได้บอกว่าต้นทุนตายตัว 40 เปอร์เซ็นต์นะ แต่จะดูว่า ต้นทุนต้วไหนสูง ตัวไหนต่ำ
 จะมีการชี้วัด ผลประกอบการของแต่ละร้านเปรียบเทียบกัน 

          ผู้จัดการร้านคือ ผู้บริหารให้ร้านเป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้น หน้าที่ของผู้จัดการร้าน เป็นงานควบคุม อย่างเรื่องบัญชี
 เขาก็จะเป็นคนรวบรวมเอกสาร จัดการบริหารเงินสดย่อย ในเรื่องการตลาด เขาก็จะเป็นบอกให้พนักงานเก็บข้อมูล 
จัดตารางงานประจำวัน ซึ่งควรจะมีการกำหนดหน้าที่ของแต่ละคนในร้านที่ชัดเจน นอกจากนี้แล้วควรกำหนด อำนาจของผู้จัดการ
ห้ขอบเขตชัดเจน เช่น ผู้จัดการร้านเป็นคนรับพนักงานได้เลย ตั้งแต่ สรรหา นำมาใช้ประโยชน์ ให้คุณให้โทษ ได้ครบวงจร เป็นต้น ส่วนเรื่องการทำการตลาดของร้าน การคิดมาร์เก็ตติ้งหลัก ๆ เรื่องพีอาร์ ถ้าเป็นแมสก็ส่วนกลางทำ แต่ถ้าเป็นระดับท้องถิ่นผู้จัดการร้านจะเป็นคนทำ

          3. ด้านการเงิน จะมีเรื่องบัญชี ที่สำคัญ ส่วนออฟฟิศต้องสนับสนุนส่วนหน้า ส่วนหน้า ก็จะมีบัญชีที่เป็นแคชเชียร์คนเดียว 
นอกนั้นส่วนใหญ่จะเป็นเซอร์วิสหมด ดังนั้นหน้าที่แคชเชียร์ต้องทำอะไรบ้าง ส่วนสำนักงานทำอะไร ระบบงานร้านสาขาควรจะ
กำหนดเอาไว้ ฝ่ายบัญชีใหญ่ต้องการรายงานเอกสารใดที่กลับมา ส่วนบัญชีกลางจะบริหารระบบนี้ 

           4. การตลาด พอทำร้านไปเยอะๆ เสน่ห์ของร้านจะหายไป และร้านบางแห่งก็ไม่ได้อยู่ในทำเลที่ดีนัก ดังนั้นการตลาด
จึงต้องเข้ามาช่วย และก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้องค์กรเติบโตได้ 

           5. การพัฒนาธุรกิจ เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น ต้องมีคนที่คิด และคิดไม่หยุด คอยสร้างโครงการใหม่ๆตลอด พวกนี้จะเป็นเหมือน
หน่วยที่ขยายร้าน คอยหาทำเล ทำงานก่อสร้าง ทำอย่างไรถึงจะให้ร้านสวยด้วย ดูแลซ่อมแซมร้าน เช่นดูว่าทำอย่างไร
 ปลวกไม่กิน คงทน และมีโนว์ฮาว ทำไงถึงจะมีการซ่อมบำรุงอย่างต่อเนื่อง เช่นหลอดไฟขาด ก่อนขาดเราจะเปลี่ยนได้มั้ย 
หรือถึงเวลาปุ๊บแล้วเปลี่ยนได้เลย หรือแอร์ต้องล้างกี่วันล้างที ล้างใหญ่กี่เดือน หลอดไฟก็ต้องมีสต็อกไว้ นี่คือส่วนงาน
 ดิเวลอปเม้นท์ หรือ การวางระบบงานของร้าน พวกขั้นตอนการทำงานต่างๆ เช่น ร้านสุกี้ ลูกค้ามาถึงปุ๊บ จะแบ่งคนไปเติมน้ำจิ้ม 
ก่อนเลย หรือเสิร์ฟน้ำให้ก่อน เรียกว่าพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน สิ่งเหล่านี้ฝ่ายพัฒนาธุรกิจจะเป็นคนคิด


CR: http://www.ksmecare.com/


เทคนิคการเปิดร้านอาหารให้ได้กำไร

การจะเปิดร้านอาหารสักร้านไม่ใช่เรื่องยากอะไร ตรงกันข้ามเป็นเรื่องที่ง่ายแสนง่ายมากด้วยละครับ เพราะเพียงแค่เราทำอาหารเป็น หรือมีแหล่งสำหรับรับอาหารมา และมีสถานที่ เท่านี้ก็เปิดได้แล้วแต่การที่จะเปิดขึ้นมาแล้วให้มีกำไร ขายดิบขายดีนี้สิ เป็นอะไรที่ต้องบอกว่าไม่ง่ายเลยครับ ฉะนั้นผมจึงได้นำเอาเทคนิคต่างๆในการเปิดร้านอาหารแบบให้ได้กำไรมาฝากกันครับ
แต่ก็ต้องบอกไว้ก่อนนะครับว่า เทคนิคที่จะกล่าวนี้นั้นเป็นแค่เพียงสิ่งที่จะช่วยทำให้เราเริ่มต้นทำกำไรจากร้านอาหารได้เท่านั้นไม่ถึงขนาดว่าจะทำให้ร้านอาหารที่เราเปิดนั้นมีกำไรแบบยั่งยืนไปตลอด เพราะการที่ร้านอาหารใดๆจะมีกำไรแบบยั่งยืนไปตลอดนั้น ต้องอาศัยเรื่องของประสบการณ์ และการปรับตัว การหมั่นพัฒนาตัวเองของเจ้าของร้านอย่างสม่ำเสมอครับ ทีนี้ก็มาเริ่มดูเทคนิคเหล่านั้นกันเลยครับ
เทคนิคแรกก็คือ เรื่องของการชูจุดเด่นของอาหารที่จะขาย กล่าวคือ ก่อนที่เราจะเปิดร้านอาหารใดๆนั้น เราต้องรู้ก่อนว่าอาหารของเรานั้นจะมีจุดเด่นอะไรที่สำหรับเป็นตัวชูให้ลูกค้าจดจำร้านเราได้ และ ประทับใจในร้านอาหารของเรา คือ อย่าคิดเพียงแค่ว่า ทำอาหารให้อร่อยได้ตามสูตรในหนังสือ หรือสูตรดั้งเดิมที่ใครๆเขาแนะนำมา เพราะร้านอาหารที่สามารถทำอาหารใดๆได้อร่อยตามสูตร ตามตำรา นั้นมีมากมายเยอะแยะไปหมดครับ จึงไม่มีเหตุผลอะไรเลยครับที่ลูกค้าจำเป็นจะต้องมาทานร้านเรา

แต่สิ่งที่ว่าซึ่งก็คือ จุดเด่น นั้นต่างหากครับที่จะเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าเห็นว่าจำเป็นต้องมาทานอาหารร้านเราคือ มันจะเป็นประมาณว่าต้องไปทานร้านนี้สิ ร้านอื่นไม่มีแบบนี้ อะไรทำนองนี้ครับ ส่วนอีกหนึ่งเทคนิคก็คือเรื่องของโปรโมชั่นครับ คือในการเปิดร้านอาหารใหม่ทุกร้านนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดโปรโมชั่นก่อน อาจจะเป็นในลักษณะของการขายต่ำกว่าราคาจริง หรือจะมีการแถมอะไรก็ได้ครับ เช่น สั่งอาหารทานตั้งแต่ราคาเท่าไหร่ขึ้นไปได้รับน้ำฟรี เป็นต้น เพราะโปรโมชั่นนั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าสนใจจะมาลองทานอาหารร้านเรามากขึ้นครับ


เคล็ดลับจับลูกค้า

เคยรู้ไหมครับว่าบางครั้งเราได้ปล่อย ให้ลูกค้าของเราหลุดลอยไปมากเท่าไร ทั้งจากกลุ่มลูกค้าที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าเราในอนาคตและกลุ่มลูกค้าเก่า ที่หายไป ยิ่งสภาวะการแข่งขันรุนแรงมากเท่าไรการแย่งชิงลูกค้าก็ยิ่งจะมากขึ้นเท่า นั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าจำนวนลูกค้ามีเท่าเดิมแต่มีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งต้นทุนที่ผู้ประกอบการต้องควักกระเป๋าเพื่อหาลูกค้าใหม่ยังมากกว่า การทำการตลาดกับลูกค้าเก่าหน้าเดิมๆ ถึง 5 เท่า นอกจากนี้ ลูกค้าเก่าจะรู้สึกคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์เป็นอย่างดี ทำให้ยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ดีกว่าลูกค้าหน้าใหม่ และยังพร้อมที่จะสนับสนุนกิจกรรมของคุณทุกเมื่อหากลูกค้ายังมีใจให้กับเรา อยู่
 ท่านผู้อ่านคงอยากจะทราบกันแล้วว่าทำอย่างไรเราจึงจะสามารถจับลูกค้าไม่ว่า จะเป็นรายเก่ารายใหม่หรือคนที่สนใจไม่ให้หลุดมือเราไปได้  ทีนี้เราลองมาดูกลยุทธ์ในการจับลูกค้าให้อยู่หมัดกันนะครับ สามารถแยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

     1. อย่าปล่อยให้ลูกค้าลอยนวล เราจะต้องหาวิธีเปลี่ยนกลุ่มผู้สนใจให้เป็นลูกค้าให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นคนที่เดินผ่านหน้าร้าน คนที่โทรศัพท์มาสอบถาม คนที่แวะที่ร้านหรือจุดขาย คนที่เห็นโฆษณาของเราทางสื่อต่างๆ แต่คำถามก็คือ  “ทำอย่างไรที่จะเปลี่ยนกลุ่มผู้ที่สนใจนี้ให้เป็นลูกค้าของเรา?”  หากเราลองเก็บข้อมูลดูอาจจะพบว่ากลุ่มที่แวะเข้าร้านหรือโทรศัพท์มาสอบถาม แล้วเกิดการซื้อทันทีคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ส่วนอีกกลุ่มนั้นจะต้องอาศัยการติดตามสัก 2-3 ครั้งกว่าที่ลูกค้าจะยอมตัดสินใจซื้อจริง ซึ่งอาจจะได้ยอดขายเพิ่มขึ้นอีกสัก 15 เปอร์เซ็นต์ รวมกันทั้งสองกลุ่มก็ประมาณ 25-30  เปอร์เซ็นต์  ดังนั้น หน้าที่ของเราก็คือ “อย่าปล่อยให้ลูกค้าลอยนวล จับเอาไว้ให้แน่นๆ ”  สำหรับกลุ่มที่หนึ่งเราจะต้องหาวิธีทำให้ลูกค้าที่มาหาโดยตรงประทับใจ และตัดสินใจซื้อโดยทันที และกลุ่มที่สองหากยังไม่ตัดสินใจซื้อทันทีก็ไม่เป็นไร  เราจะต้องพยายามให้ข้อมูลแก่ลูกค้าให้ดีที่สุดแต่จะต้องไม่รีบร้อนในการขาย จนเกินไป ควรเก็บข้อมูลทั้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอี-เมล์ เพื่อที่เราจะได้ติดตามแล้วพยายามเปลี่ยนกลุ่มที่สนใจให้กลายมาเป็นลูกค้า เราให้ได้

2. เปลี่ยนลูกค้าขาจรเป็นขาประจำ เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าของเราแล้วนับเป็นโอกาสที่ดีของเราที่สามารถนำเสนอ สินค้าหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติมพ่วงเข้าไปด้วย เรียกว่า “เพิ่มโอกาสเพื่อสร้างรายได้”  เช่น ร้านขายมือถือ เมื่อลูกค้าซื้อมือถือ เราก็ขายซองใส่มือถือ แบตเตอรี่ หูฟังไร้สาย เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ เป็นต้น หรือร้านกาแฟก็ขายขนมเค้ก ขนมปัง นมสด น้ำผลไม้ เสริมเข้าไปด้วย  เพราะโดยทั่วไปแล้วพฤติกรรมการซื้อสินค้าชิ้นแรกหรือครั้งแรกจะยากลำบากเสมอ หรือใช้เวลาในการตัดสินใจเปรียบเทียบคุณค่าอยู่นาน แต่พอการซื้อสินค้าชิ้นที่สองจะง่ายมาก  จุดสำคัญ คือ การสร้างอารมณ์ในการซื้อให้เกิดขึ้นกับลูกค้า อีกทั้งลูกค้าที่ซื้อสินค้ามากชิ้นจะมีแนวโน้มกลับมาซื้ออีกหรือเป็นลูกค้า ขาประจำ  ถ้าหากเปรียบเทียบร้านค้าที่ขายดีกับขายไม่ดีจะพบว่าร้านค้าที่ขายดีนั้นมี ยอดขายมากกว่าครึ่งหนึ่งมักมาจากลูกค้าขาประจำ เช่น ร้านเสริมสวยที่มีลูกค้าขาประจำ รู้ว่าลูกค้าจะมาทุกๆ 2 สัปดาห์ จะสอบถามลูกค้าว่าอาทิตย์นี้จะเข้ามาวันไหนจะเตรียมบริการให้พิเศษ หรือช่วงวันหยุดนี้มาอีกวันดีกว่าไหม เป็นการนัดจองคิวล่วงหน้าซึ่งแสดงถึงความใส่ใจ หรือแม้กระทั่งร้านค้าปลีกในหมู่บ้าน ที่จำชื่อลูกค้าขาประจำในหมู่บ้านที่มาซื้อได้หมดทุกคน รู้ว่าลูกค้าเคยซื้ออะไรในหนึ่งสัปดาห์ ก็จะโทรศัพท์ถามลูกค้าว่าต้องการสินค้าเพิ่มเติมไหม จะไปส่งให้ที่บ้าน มีเครดิตให้ลูกค้าประจำเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ค่อยมาจ่ายก็ได้ หากบริการดีอย่างนี้รับรองครับว่าลูกค้าไม่หนีไปไหนแน่ๆ

3. เปลี่ยนลูกค้าขาประจำให้เป็น “แฟนพันธุ์แท้ ”  ที่เชื่อใจกันและกัน คอยสนับสนุนกิจการและบอกต่อๆ ให้แก่คนรู้จัก ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจต่างๆ จะต้องให้ความสำคัญกับลูกค้าว่า “ลูกค้าคือสินทรัพย์” ของบริษัท หรือลูกค้าเปรียบเสมือน “ห่านทองคำที่จะสร้างรายได้ให้กับเจ้าของ(ธุรกิจ)ได้อย่างไม่รู้จบ ตราบเท่านานที่ผู้เป็นเจ้าของรู้จักดูแลลูกค้า(ห่านทองคำ)ของตนเองเป็นอย่าง ดี” หรืออาจเปรียบเทียบกับภาษาทางวิชาการที่ว่า “มูลค่าตลอดชีพ (Life Time Value : LTV)” หากเราดูแลลูกค้าแบบเพื่อนแท้หรือคู่รักที่สนใจเอาใจใส่เป็นอย่างดีลูกค้าก็ จะอยู่กับเราตลอดไป ยกตัวอย่างเช่น
     - ร้านอาหาร หากลูกค้ามาทานอาหารที่ร้านเดือนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1,000 บาท เท่ากับว่าในหนึ่งปีเราได้รับรายได้จากลูกค้าคนนี้ถึง 24,000 บาท หากร้านคุณมีลูกค้าที่เป็นแฟนพันธุ์แท้สัก 50 คน คุณจะมีรายได้ที่แน่นอนถึงปีละ 1.2 ล้านบาทเลยทีเดียว
     - สปอร์ตคลับที่เก็บค่าสมาชิกปีละ 5,000 บาท หากคุณมีสมาชิกจำนวน 200 คน คุณจะมีรายได้ถึงปีละ  1 ล้านบาทที่นอนมาให้คุณแบบสบายๆ
     - ร้านกาแฟที่มีลูกค้าแฟนพันธุ์แท้ที่มาดื่มกาแฟเป็นประจำ สัปดาห์ละ 4 แก้ว เฉลี่ยแก้วละ 60 บาท ในหนึ่งปีคุณจะมีรายได้จากลูกค้าคนนี้ถึง 12,480 บาท หากร้านนี้มีลูกค้าที่เป็นแฟนพันธุ์แท้สัก 100 คน จะมีรายได้ประมาณ 1.2 ล้านบาทต่อปี  เป็นต้น

4. ตามคืนดีลูกค้าเก่าที่จากไปให้กลับมา สาเหตุหลักๆ ที่ลูกค้าจากไปจะมีอยู่ 2 ประการ
     ประการแรก คือ ลูกค้าไม่พอใจสินค้าหรือการบริการของเราจนหายหน้าหายตาไป ดังนั้น อาจจะต้องอาศัยความพยายามมากๆ หน่อย เพราะส่วนใหญ่มาจากสาเหตุที่พนักงานพูดจาไม่สุภาพ บริการไม่ประทับใจ ไม่ได้กระทำตามสัญญาที่ให้ไว้ เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารควรติดต่อไปหาลูกค้าด้วยตนเอง สอบถามถึงปัญหาความขัดข้องใจ ผ่านทางโทรศัพท์ อี-เมล์ หรือส่งจดหมายลงลายมือชื่อไปขอโทษลูกค้า เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมกับเสนอสินค้าหรือบริการที่เขาเคยซื้อเคยใช้ ในราคาที่พิเศษเพื่อเป็นการขอโทษ ซึ่งจะทำให้เราได้ลูกค้ากลุ่มนี้กลับคืนมา และก็มีแนวโน้มที่ลูกค้ากลุ่มนี้จะกลายมาเป็นแฟนพันธุ์แท้ในอนาคตอีกด้วย
     ประการที่สอง คือ ขาดการติดต่อหรือติดตามจากเรา การดึงลูกค้าให้กลับมาโดยง่ายเราควรนำเสนอสิทธิพิเศษนิดหน่อย เช่น ในช่วงวันเกิดสามารถซื้อได้ในราคาลด 50 เปอร์เซ็นต์ หรือหากมีสินค้ารุ่นใหม่ๆ ออกมาก็ให้ทดลองใช้ก่อนใครหรือให้ใช้ได้ฟรี อีกทั้งอาจจะมีกิจกรรมร่วมกันเพื่อฟื้นฟูความทรงจำดีๆ ให้กลับมา

5. จัดกิจกรรมสร้างสัมพันธ์รวมกลุ่มคนที่รักเรา ให้ลูกค้าพาเพื่อน คนรู้จัก หรือญาติมาหาเรา เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จัดกิจกรรมสอนแต่งหน้าจากช่างแต่งหน้ามืออาชีพ ผลิตภัณฑ์นมสดพร้อมดื่มสำหรับเด็กจัดกิจกรรมค่ายเด็กน้อยอัจฉริยะ การจัดรายการ สมาชิกแนะนำสมาชิก เพื่อนบอกเพื่อน (Member Get Member) หรือให้ลูกค้าแนะนำรายชื่อเพื่อนหรือคนรู้จักสัก 3 รายชื่อ พร้อมทั้งขออนุญาตในการอ้างอิงชื่อผู้แนะนำเพื่อนำเสนอสินค้า วิธีการเหล่านี้ก็จะช่วยให้เราขยายฐานลูกค้าออกไปได้อย่างมาก

    อย่างไรก็ตาม การนำกลยุทธ์ใดๆไปใช้ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของจิตใจที่ดีที่มีต่อลูกค้าของท่านอย่าพยายามเสแสร้งทำเป็นดีกับลูกค้า ควรแสดงออกให้เห็นถึงความจริงใจมีความเสมอต้นเสมอปลายทั้งกับลูกค้าและพนักงานก็จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนและไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใหญ่หรือเล็กก็ตามลูกค้านั้นก็เป็นบุคคลที่สำคัญต่อเราเสมอดังคำกล่าวของ ท่านมหาตมะ คานธี ที่กล่าวไว้ว่า “ลูกค้าคือ แขกคนสำคัญที่สุดที่ได้มาเยือนเรา ณ สถานที่แห่งนี้ เขามิได้มาเพื่อพึ่งพิงเราแต่เราต่างหากที่ต้องพึ่งพิงอาศัยเขา”

โดยรัฐวิทย์ ทองภักดี


ทำร้านอาหารอย่างไรไม่ให้เจ๊ง


พอดีวันนี้ เราไปอ่านเจอบทความนึง จากเว็บ manager.com มีบทความเกี่ยวกับร้านอาหารที่น่าสนใจมาฝากค่ะ   เป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์จริงของ เจ้าของธุรกิจภัตตาคารดังที่มาเปิดใจทุกปัญหาที่นำพาธุรกิจไปสู่การปิดกิจการ
          คุณสุนทร สุรี อดีตเจ้าของภัตตาคารจีนชื่อดังย่านสุขุมวิท 20 ได้เปิดใจถึงความล้มเหลวในการทำธุรกิจภัตตาคารจีน "รีเจนท์" ว่า   ปัญหาทั้งหมดไม่ได้มาจากอาหารไม่อร่อยหรือไม่มีลูกค้าหรือทำเลไม่ดี แต่มันเกิดจากการบริหารจัดการภายในที่ยังขาดประสบการณ์ด้านร้านอาหาร เพราะขณะที่ปิดร้าน ก็ยังมีลูกค้ามาทานอาหารเป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุที่ต้องปิดกิจการมีอยู่ด้วยกันหลายข้อ เริ่มจากพ่อครัวที่เราได้คัดสรรมาอย่างดี ซึ่งจะเข้ามาทำงานกันเป็นทีม โดยมี 2 ทีม ทีมครัวร้อน และทีมครัวติ่มซำ ซึ่งการเข้ามาเป็นทีมตรงนี้เป็นจุดพลิกผันสำคัญที่ทำให้เราต้องปิดกิจการ เพราะด้วยฝีมือการทำติ่มซำที่ถือว่าเป็นสุดยอด เราจึงใช้ตรงจุดนี้ มาเพิ่มยอดขายด้วยการนำติ่มซำของเราไปเสนอขายกับโรงแรมและภัตตาคารชั้นนำหลายแห่งให้ความสนใจ และสั่งซื้อติ่มซำจากเรา โดยมีรถมอเตอร์ใช้จัดส่งช่วงนั้นถึง 7 คัน ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้มีภัตตาคารบางแห่งต้องการตัวพ่อครัวติ่มซำของเรา ด้วยการเสนอค่าตัวที่แพงกว่า ทำให้เราต้องเสียครัวติ่มซำชุดนี้ไปทั้งทีม จึงตัดสินใจเลิกทำติ่มซำ จะทำขายเฉพาะในภัตตาคารเท่านั้น
         หลังจากนั้นเจอปัญหาการบริหารจัดการภายใน ซึ่งมีการโกงกินกันภายในระหว่างกัปตัน คนเขียนบิล และในครัว เพราะภัตตาคารจีนจะมีวัตถุดิบหลายตัวที่ราคาสูง อย่างพระกระโดดกำแพง เมื่อมีลูกค้าสั่งหม้อ 2,000 บาท ทำหม้อละ 5,000 บาท มาให้โดยลูกค้าจ่ายส่วนต่าง 3,000 บาท ให้กับกัปตัน ก็จะนำไปแบ่งให้คนเขียนบิล และในครัว ถ้าเจ้าของไม่เช็คให้ดีจะไม่รู้ว่าตัววัตถุดิบตัวนี้มันหายไป หรือแม้แต่แก๊สที่ใช้หุงต้มก็มีวิธีการกินกัน โดยโคกับทางร้านแก๊ส เมื่อแก๊สใช้ไปครึ่งถังก็จะสั่งใหม่ และเก็บถังเก่าและทางร้านแก๊สจะจ่ายเงินคืนแก๊สส่วนที่เหลือให้ซึ่งสั่งครั้งหนึ่งประมาณ 6 ถัง รู้สึกผิดสังเกตว่ามีการสั่งแก๊สบ่อยมากซื้อเครื่องวัดมาจึงรู้ว่าถังนั้นยังมีแก๊สเหลืออยู่
        ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ของการทำร้านอาหารทุกร้านต้องเจอ คือ การขโมยอุปกรณ์ ช้อน ซ้อม มีด จาน ชาม รวมถึงเครื่องปรุงต่างๆ ก็จะยัดใส่ถุงดำเหมือนเป็นขยะและให้รถมารอรับไป แต่ปัญหาสุดท้ายที่ทำให้ต้องปิดกิจการและไม่ตัดสิ่นใจทำต่อ เพราะเมื่อทีมพ่อครัวร้อนยกทีมลาออก เพราะพ่อครัวขาดความรับผิดชอบกินเหล้า ไม่มาทำงานทำให้ไม่สามารถทำงานต่อไป จึงตัดสินใจไล่พ่อครัวใหญ่ออก เมื่อเขาออกไปอยู่ที่อื่น ก็ดึงทีมงานเขาออกไปด้วย จึงลาออกกันหมด

       และที่เราไม่หาพ่อครัวใหม่ และตัดสินใจเลิกกิจการทั้งที่ลูกค้าก็ยังมี เหตุผลสำคัญมาจาก ปัญหาครอบครัว เพราะการเปิดร้านอาหาร ต้องดูแลใกล้ชิดไม่มีวันหยุด ทำให้ไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัว ภรรยาซึ่งเข้ามาช่วยงานที่ร้านไม่มีเวลาดูแลลูก และภรรยาเครียดเรื่องเงินที่ต้องจมไปกับการลงทุนที่เกิดจากปัญหาต่างๆที่กล่าว จนภรรยาต้องเข้าโรงพยาบาลศรีธัญญา เป็นเหตุผลว่าเราไม่ทำต่อและเซ้งกิจการให้คนอื่นไป โดยบทเรียนครั้งนี้ทำให้เราต้องเสียบ้านไป 1 หลัง และที่ดิน 1 แปลงกว่า 20 ล้านบาท บทเรียนว่า ก่อนตัดสินใจก้าวสู่ธุรกิจนี้ ควรที่จะได้ศึกษาก่อนลงมือทำ




    
คำแนะนำจากผู้บริหารรุ่นใหม่ กับการลงทุนระบบไอทีในร้านอาหาร
         คุณอรรถพล ระตะนะอาพร Managing Director บริษัท แชมป์เปี้ยนฟูดส์ จำกัด ผู้บริหารหนุ่มที่นำ Ringerhut เข้ามาเปิดประสบการณ์ในประเทศไทยคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารที่กำลังมองหาระบบไอทีที่ดี เขาฝากว่า "อยากให้คิดเรื่องธุรกิจตัวเองก่อน ว่าจริงๆ แล้วธุรกิจอยากได้อะไร จากนั้นก็ออกไปหาระบบในตลาดและเลือกให้ตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด บางทีราคาถูก แต่เราต้องการมากกว่า ไม่ได้ตอบโจทย์ เพราะระบบเป็นแค่โปรแกรมสำเร็จรูปพื้นฐาน าราคาถูก แต่ไม่ตอบโจทย์ในแง่การรองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคตได้"
จากนั้นค่อยมองเรื่องต้นทุน อย่างไรก็ตามการตัดสินใจลงทุนไอที อยู่ที่ความเหมาะของต้นทุนที่สอดคล้องกับรายได้ทางธุรกิจ ประเมินว่าสัดส่วนเม็ดเงินลงทุนไอทีควรจะอยู่ที่ 5-10% ของเม็ดเงินลงทุนทางธุรกิจทั้งหมด เช่น หากเป็นธุรกิจขนาดเล็ก รายได้ทางธุรกิจอยู่ที่ 1 ล้านบาท ต้นทุนลงทุนระบบไอทีไม่ควรจะเกิน 50,000-100,000 บาท เพราะยังมีความจำเป็นต้องนำเงินไปลงทุนส่วนอื่นด้วย ปัจจุบัน Ringer hut ลงทุนระบบไอที คิดเป็นสัดส่วน 10-15% ของเม็ดเงินลงทุนทั้งหมด "อย่างน้อยการลงทุนระบบไอที ต้องสามารถนำไปเชื่อมโยงกับระบบได้ทันที ไอทีจะเป็นตัวสนับสนุนในขณะที่หน้าร้านต้องทำให้ดูดีอยู่แล้ว แม้ระบบหลังบ้านดีไปก็ไม่มีประโยชน์ ทุกอย่างต้องเชื่อมโยงกัน"
(ความสำเร็จของ Ringer hut Restaurant : The Leader eBusiness; ภาณุพงษ์ วงษ์รอด; 64-67)

       




การกำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของร้านอาหาร

           การกำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายนั้น นับเป็นสิ่งสำคัญมาก ในการกำหนดแนวทางของธุรกิจหรือเอกลักษณ์ของร้านอาหาร และที่สำคัญยังเป็นกรอบการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจในขั้นตอนต่อๆ ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นทำเลที่ตั้ง การออกแบบตกแต่งร้านหรือรายการอาหาร เป็นต้น ดังนั้นในการกำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายสำหรับธุรกิจร้านอาหารไทยนั้น จึงขึ้นอยู่กับการกำหนดแนวคิดทางธุรกิจของผู้ประกอบการแต่ละรายเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามการกำหนกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอาจใช้หลักเกณฑ์การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) เป็นกรอบเบื้องต้น ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้

        1) อายุ เพศ อาชีพ ระดับรายได้ และระดับการศึกษา
        2) รสนิยมและพฤติกรรมการบริโภค
        3) กำลังซื้อของผู้บริโภค
        4) ระดับชั้นของสังคม
        5) ศาสนา
        6) วัฎจักรครอบครัว (Family Life Cycle) ซึ่งพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงตามช่วงอายุ แบ่งได้ดังนี้
         o อายุ 15-19 ปี โสด ชอบรับประทานอาหารนอกบ้านกับเพื่อน กลุ่มเพื่อนหรือครอบครัว
         o อายุ 20-24 ปี แต่งงานแล้ว ไม่มีบุตร ชอบรับประทานอาหารตามลำพังกับสามี/ภรรยา หรือกุล่มเพื่อนตามลำพังในบางครั้ง
         o อายุ 25-34 ปี แต่งงานแล้ว บุตรยังเล็ก ชอบรับประทานอาหารตามลำพังกับสามี/ภรรยา และกับกลุ่มเพื่อนบ้าง
         o อายุ 35-44 ปี คอบครัวที่มีบุตรกำลังโต ขอบรับประทานอาหารกับสามี/ภรรยา รวมทั้งกับสมากชิกครอบครัวคนอื่นๆ ด้วย

           เมื่อได้ส่วนแบ่งของตลาดแล้ว ผู้ประกอบการจึงประเมินข้อดีของแต่ละส่วนตลาดและกำหนดตลาดเป้าหมาย (Target Market) ได้ต่อไป เช่น เมื่อตัดสินใจเลือกเป้าหมายที่มีอายุระหว่าง อายุ 15-19 ปี แล้ว ผู้ประกอบการก็จะสามารถกำหนดกลยุทธ์และความพยายามทางการตลาดอย่างอื่น เพื่อตอบสนองประโยชน์ของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น